แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์จังหวัดยโสธร

No Thumbnail Available
Date
2023
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การศึกษาครั้งนีมี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพของการท่องเที่ยวจังหวัดยโสธร 2) ศึกษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของจังหวัดยโสธร สำหรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 3) ศึกษาพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์จังหวัดยโสธร 4) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่นักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์จังหวัดยโสธร และ 5) สร้างแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์จังหวัดยโสธร ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสม (Mixed Methods) โดยการวิจัยเชิงคุณภาพใช้สัมภาษณ์เชิงลึกจากบุคลากรในหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน ประชาชน นักวิชาการ และหน่วยงาน NGO จำนวนทั้งหมด 26 คน ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณใช้การสอบถามจากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาท่องเที่ยว และเคยมาท่องเที่ยวจังหวัดยโสธร จำนวน 400 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม ผลจากการศึกษาพบว่า 1) ศักยภาพของการท่องเที่ยวจังหวัดยโสธรที่ควรได้รับการส่งเสริม และพัฒนาสำหรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์จังหวัดยโสธร คือ ระบบการขนส่งจากตัวเมืองไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ของจังหวัดยโสธร เนื่องจากยังไม่มีไว้สำหรับการให้บริการนักท่องเที่ยว และการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยว งานประเพณี อาหารท้องถิ่น ศิลปะการแสดง และดนตรีท้องถิ่นที่มีอยู่ในจังหวัดยโสธร สู่สายตานักท่องเที่ยวยังมีน้อยเกินไป 2) อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมจังหวัดยโสธร สำหรับนำมาใช้ในการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์จังหวัดยโสธร พบว่า อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นของจังหวัดยโสธรมี 5 ด้าน คือ ด้านแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ด้านงานประเพณีและเทศกาล ด้านสินค้าและหัตถกรรมจากภูมิปัญญา ด้านอาหารท้องถิ่น และด้านศิลปะการแสดงดนตรีท้องถิ่น ซึ่งถือเป็นทรัพยากรที่ถือเป็นสิ่งดึงดูดใจที่จะสามารถนำมาใช้สำหรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์จังหวัดยโสธรได้ 3) พฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางไปท่องเที่ยวจังหวัดยโสธรส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ โดยมีระยะเวลาที่ใช้ในการท่องเที่ยวแต่ละครั้ง 2 วัน เลือกท่องเที่ยวช่วงวันเสาร์และวันอาทิตย์ ความถี่ในการเดินทางท่องเที่ยวจังหวัดยโสธรปีละครั้ง และมีค่าใช้จ่ายสำหรับการท่องเที่ยวแต่ละครั้งมากกว่า 3,001 บาทขึ้นไป ผู้ร่วมเดินทางส่วนใหญ่เป็นคนในครอบครัวและญาติ เลือกแหล่งท่องเที่ยวประเภทวัด เลือกพักในโรงแรม และเลือกพาหนะเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว 4) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสำคัญกับนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเลือกมาท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดยโสธร คือ ปัจจัยด้านลักษณะเฉพาะของพื้นที่ (Particularity) และ 5) แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์จังหวัดยโสธร คือ การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์จังหวัดยโสธรด้วยรูปแบบ HIGH DNA Model ประกอบด้วย การสะท้อนอัตลักษณ์ความเป็นของแท้และดั้งเดิมของวัฒนธรรม (Heritage Cultural = H) การสนับสนุนแหล่งเงินทุนเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดยโสธร (Investment = I) การบริหารจัดการด้วยหลักธรรมาภิบาล (Good Governance = G) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource = H) การพัฒนาแบบองค์รวม (Development = D) การสร้างเครือข่ายทุกภาคส่วน (Networked = N) และการนำนวัตกรรมแอปพลิเคชันมาใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว (Application = A)
Description
The purposes of this research were 1) To study the potential to cultural tourism of Yasothon Province. 2) To study the identity to cultural tourism of Yasothon Province. 3) To study the behavior of Thai tourists when traveling to Yasothon Province. 4) To study the marketing mix factors that are important to Thai tourist when choosing cultural tourism according to the identity of Yasothon Province and 5) Approaches to the promotion of cultural tourism according to the identity of Yasothon Province. The mixed research methods are selected by the parallel studies of both qualitative and quantitative analysis methods. For the qualitative aspect, in-depth interviews with 26 individuals form personals in government and private sectors, scholars, general people in the Province and personals form non profit organizations. For the quantitative research, data were collected using questionnaires distributed to 400 Thai tourists who were travelling in or had been to Yasothon Province. The results of the study, 1) The potential promotion and the development of cultural tourism based on the identity in Yasothon Province. They were thing that should be promoted and developed to serve tourist, Transportation system was regarded important for tourist travels to attractions in Yasothon Province. And there were too few public tourist attractions including traditions, local food, performing arts and local music in Yasothon Province for tourist to see. If there were more those public attractions more people would travel to Yasothon Province. 2) The cultural identity of Yasothon Province it was found that Yasothon had 5 aspects prominent for cultural attractions: traditions and festivals, products and handicrafts for local wisdom, local food, preforming arts and local music which could be attractions in managing cultural tourism in Yasothon Provicne. 3) They traveled to Yasothon for pleasure, and they spent two days in the province, typically on the weekend. They traveled to the province once year and spent more than 3,001 baht per trip. They also traveled with their family members or relatives. They went to temples, stayed at a hotel, and traveled by car. 4) The marketing mix factors that are important to Thai tourists when choosing cultural tourism in Yasothon Province are characteristic factors of the particularity area. 5) The approaches to the promotion of cultural tourism according to the identity of Yasothon Provice using the HIGH DNA Model. with Heritage Cultural = H, Investment = I, Good Governance = G, Human Resource= H, Development = D, Networked= N, Application = A.
Keywords
แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, อัตลักษณ์จังหวัดยโสธร, Approaches to the promotion tourism, Cultual tourism
Citation
พูนทรัพย์ เศษศรี. (2566). แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์จังหวัดยโสธร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา]. ฐานข้อมูลคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยพะเยา (UP Digital Collections: UPDC).