เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์มโนทัศน์ในแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติศิลาทราย อุทยานแห่งชาติผาแต้มและอุทยานแห่งชาติสามพันโบก จังหวัดอุบลราชธานี
No Thumbnail Available
Date
2019
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การศึกษาวิจัยเรื่อง เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์มโนทัศน์ ในแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติศิลาทราย อุทยานแห่งชาติผาแต้ม และอุทยานแห่งชาติสามพันโบก จังหวัดอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะทางกายภาพด้านธรณีสัณฐานของแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณีสัณฐานหินทรายในอุทยานแห่งชาติผาแต้ม และอุทยานแห่งชาติสามพันโบก 2) ศึกษาการรับรู้จากการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์มโนทัศน์ในแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณีสัณฐานหินทรายของอุทยานแห่งชาติผาแต้ม และอุทยานแห่งชาติสามพันโบก และ 3) สร้างเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์มโนทัศน์ในเขตแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณีสัณฐานหินทรายบริเวณอุทยานแห่งชาติผาแต้ม และอุทยานแห่งชาติสามพันโบก ในจังหวัดอุบลราชธานี งานวิจัยฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 3 กลุ่ม ประกอบด้วย นักท่องเที่ยว จำนวน 15 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน และพระสงฆ์จำนวน 5 รูป รวม 25 คน/รูป ผลการศึกษาพบว่า 1) ลักษณะทางกายภาพด้านธรณีสัณฐานของแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณีสัณฐานหินทรายในอุทยานแห่งชาติผาแต้ม และอุทยานแห่งชาติสามพันโบก มีลักษณะสัณฐานทางกายภาพเพื่อการท่องเที่ยว 10 อนุสัณฐาน คือ ผาหิน ชั้นหิน เสาหิน ระแหงหิน ปุ่มหิน แก่งหิน บ่อหิน ชะง่อนหิน น้ำตก และดินทราย 2) การรับรู้จากการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์มโนทัศน์ในแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณีสัณฐานหินทราย มี 3 ระดับ คือ ระดับรู้เห็น ระดับรู้พิจารณา และระดับรู้คิด นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่รับรู้อยู่ในระดับการรู้เห็น ระดับการรู้พิจารณานั้นมีน้อย และระดับการรู้คิดมีน้อยมาก หรือแทบไม่มีเลย ดังนั้น การท่องเที่ยวส่วนใหญ่ของนักท่องเที่ยวปัจจุบันมีลักษณะการท่องเที่ยวแบบไปเห็นแล้วรู้จักการเที่ยวแล้วรู้คุณค่ามีน้อย และเที่ยวแล้วได้องค์รู้ใหม่ ๆ มีน้อยมากหรือแทบไม่มีเลย 3) ผู้วิจัยนำเสนอเส้นทางท่องเที่ยว จำนวน 8 เส้นทาง ประกอบด้วย การท่องเที่ยวทางนํ้า จำนวน 5 เส้นทาง ประกอบด้วย เส้นทางสามพันโบก เส้นทางผาชัน เส้นทางระหว่างแก่งผาชะนะได-บ้านทุ่งนาเมือง เส้นทางแก่งเก้าพันโบก และเส้นทางแก่งผาโสก และเส้นทางท่องเที่ยวทางบก จำนวน 3 เส้นทาง ประกอบด้วยเส้นทางผาแต้มตอนใต้ เส้นทางผาแต้มตอนกลาง และเส้นทางผาแต้มตอนเหนือ (ผาชัน-ผานางคอย) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถใช้ผลการวิจัยในการจัดทำข้อมูลเพื่อสร้างการรับรู้ให้กับนักท่องเที่ยว และนำเสนอเส้นทางท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์มโนทัศน์ในแหล่งท่องเที่ยวสัณฐานศิลาทราย
Description
The research aims: 1) to study the physical features of Minor Morphology of Sandstone Tourist attraction in Pa-Tam and Sam-Pan-Bok Geologic Park 2) to evaluate the perception level of Creativity for Perceptual.Tourism; and 3) to create a creative conceptual tourism route in the area of Sandstone Geomorphology of Pa-Tam and Sam-Pan-Bok Geologic Park, Ubon Ratchathani Province. This is a qualitative research. The qualitative structured interview will be conducted to 25 key informants who are 15 Thai tourists, 5 experts and 5 monks. The qualitative data will be analyzed with the content analysis. The results of the research revealed 1) At Pa-Tam and Sam-Pan-Bok Geologic Park, there are 10 physical morphological features for tourism as follows: Rock Cliff, Rock Layer, Rock pillar, Rock Crack, Rock button, Rapids, Pothole, Rock Hand, Water Fall and Sandy Soil. 2) The interview data has displayed 3 levels of the perception of creativity for perceptual tourism; perception, intellectual and conceptual. Majority of tourists’ awareness is categorized in the perception level, less in the intellectual level and very few in the conceptual level. 3) The researcher has created 5 water tourism routes consisting of Sam-Pan-Bok route, Pa-Chan route, Kaeng-Pa-Chanadai to Ban-Thung-Na- Mueang route, Kaeng-Kao-Pan-Bok route, and Kaeng-Pa-Sok route as well as 3 ground tourism routes; South Pa-Tam route, Center Pa-Tam route and North Pa-Tam route (Pa-Chan–Pa-Nang-Koi). The result of this research could be delivered to other related parties in order to provide relevant information to create awareness for tourists and to present creativity for perceptual tourism routes of Minor Morphology of sandstone tourist attractions
Keywords
การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์มโนทัศน์, เส้นทางการท่องเที่ยวธรรมชาติศิลาทราย, ธรณีสัณฐานหินทราย, Perceptual Creative Tourism, Creative Travel Route, Natural Sand Stone, Minor Morphology of Sandstone
Citation
กวี วรกวิน. (2563). เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์มโนทัศน์ในแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติศิลาทราย อุทยานแห่งชาติผาแต้มและอุทยานแห่งชาติสามพันโบก จังหวัดอุบลราชธานี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา]. ฐานข้อมูลคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยพะเยา (UP Digital Collections: UPDC).