การสร้างและพัฒนาอุปกรณ์ตรวจวัดปริมาณน้ำฝนเพื่อบันทึกข้อมูลสภาพแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศเบื้องต้นในเขตพื้นที่เกษตรอินทรีย์

No Thumbnail Available
Date
2016
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
ในงานวิจัยนี้ ได้ศึกษาและสร้างเครื่องมือเพื่อใช้ในการวัดปริมาณน้ำฝนอย่างง่าย ซึ่งมีกลไกการทำงาน คือ เมื่อน้ำฝนไหลลงถ้วยกระดกข้างหนึ่งจนเต็มในขณะนั้นจะทำให้เกิดสภาพไม่สมดุล เป็นผลให้ถ้วยกระดกข้างนี้เทน้ำทิ้งขณะเดียวกันถ้วยกระดกอีกข้างก็จะขึ้นมารับน้ำฝนแทนและสลับไปมา ซึ่งการที่ถ้วยกระดกแต่ละครั้ง จะทำให้เกิดการปิด-เปิดไฟฟ้า (Switch) โดยใช้ต่อวงจรร่วมกับบอร์ด Arduino เมื่อสร้างอุปกรณ์วัดปริมาณน้ำฝนเสร็จสมบูรณ์ ได้ทำการสอบเทียบกับปริมาณน้ำฝนจริง และนำมาต่อวงจรรวมกับเซ็นเซอร์ อื่น ๆ ซึ่งประกอบด้วยเซนเซอร์วัดความชื้นในดินและในอากาศ อุณหภูมิ ความเข้มแสง ความเร็วลม และทิศทางลม ประกอบกันเป็นหุ่นไล่กาอัฉริยะ เพื่อบันทึกข้อมูลสภาพแวดล้อมในพื้นที่การเกษตร แล้วนำข้อมูลที่ได้ไปใช้หาความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ของตัวแปร สำหรับการแก้ไขและพัฒนาการทำเกษตรอินทรีย์ในอนาคต
Description
In this research, the basis rainfall detectors were studied and build. The mechanism of sensor was based on the balance beam of two cups. It had not balance when rainwater flows into a cup as left side and cause to change another cup as right side to receive rainwater again. For each changing, the on-off power (Switch) was set on detector and connected to Arduino electronic board. Completely, the rainfall detector was calibrated with real value of rainfall. After that, the rainfall detector was integrated with other sensors such as Soil Moisture Sensor, humidity, temperature, light intensity, wind speed and wind direction as a smart scarecrow for monitoring and recording of the climate changing in agriculture area and then find the parameter relation for modification and development of the organic farming in future.
Keywords
เซ็นเซอร์, เครื่องวัดปริมาณน้ำฝน, Data logger, Sensor, Rainfall sensor
Citation
สายชล ขุนใจ. (2559). การสร้างและพัฒนาอุปกรณ์ตรวจวัดปริมาณน้ำฝนเพื่อบันทึกข้อมูลสภาพแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศเบื้องต้นในเขตพื้นที่เกษตรอินทรีย์. [ปริญญานิพนธ์ที่ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา.