การศึกษาความเป็นพิษต่อเซลล์และสารพันธุกรรมของสารสกัดใบมะละกอ โดยใช้ Allium test

Abstract
วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้ คือ การตรวจสอบความเป็นพิษต่อเซลล์และสารพันธุกรรมของสารสกัดจากใบมะละกอด้วย 95% Ethanol โดยวิธี Allium test ทำการตรวจสอบอัตราการเจริญของรากหอมโดยใช้ความเข้มข้นสารสกัดจากใบมะละกอด้วย 95% Ethanol ที่ความเข้มข้น 0.25, 0.5, 1 และ 2 กรัม/ลิตร จากนั้นทำการทดสอบ ผลของความเป็นพิษต่อเซลล์และสารพันธุกรรมจากสารสกัดจากใบมะละกอที่ความเข้มข้น 0.5, 0.65, 0.87 และ 1 กรัม/ลิตร โดยวิธี Allium test การศึกษาพบว่า เมื่อความเข้มข้นของสารจากใบมะละกอเพิ่มขึ้นส่งผลให้อัตราการเจริญของรากหอมลดลง (28.87% ถึง 45.87%) จากการศึกษา %Mitotic index พบว่า สารสกัดจากใบมะละกอลดการแบ่งเซลล์ในรากหอม และผลจากความเป็นพิษต่อสารพันธุกรรม เห็นได้ว่าในสารสกัดจากใบมะละกอทุกความเข้มข้น ไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อสารพันธุกรรม เช่นเดียวกับกลุ่มควบคุมที่ปลูกในน้ำ RO โดยมีค่าเปอร์เซ็นต์ Chromosome aberration เท่ากับ 4.85±13.81%, 4.73±0.75%, 4.55±0.76% และ 3.84±0.23% พบชนิดของ Chromosome aberration ดังนี้ Chromosome loss,C-Mitosis, Multiple chromosomes, Polyploidy, Sticky chromosome และ Chromosome fragments ดังนั้นสารสกัดจากใบมะละกอมีผลทางด้าน Cytotoxicity แต่ไม่มีผลทางด้าน Genotoxicity
Description
The objective of the current study is to investigate the cytotoxicity and genotoxicity effects of the carica papaya leaf extracts with 95% ethanol by Allium test. The rate of Allium root growth was examined after treatment with several papaya leaf extract concentrations as 0.25, 0.5, 1 and 2 gram/liter. Then, the cytotoxicity and genotoxicity effects were determined with the papaya leaf extracts (0.5, 0.65, 0.87 and 1 g/L.) by Allium test. The showed recovered that the increase concentration of papaya leaf extracts decreased the rate of root growth (28.87% to 45.87%). From the Mitotic index (%MI) results, the papaya leaf extracts decreased the cell division in Allium root tip. The genotoxicity study showed that all concentrations of the leaf extracts did not different from the negative control (RO). There were the Percentage of Chromosome aberration as 4.85±13.81%, 4.73±0.75%, 4.55±0.76% and 3.84±0.23%. The chromosome aberration types were Chromosome loss, C-Mitosis, Multiple chromosomes, Polyploidy, Sticky chromosome and Chromosome fragments. Therefore, the papaya leaf extracts affected the cytotoxicity but did not affect to the genotoxicity.
Keywords
มะละกอ, การทดสอบโดยใช้หอมแดง, ความเป็นพิษต่อสารพันธุกรรม, ความเป็นพิษต่อเซลล์, Carica papaya, Allium Test, Genotoxicity, Cytotoxicity
Citation
จุฑามาศ เถาปัญญา, เกตุสุดา เสนารัตน์ และรุจิรา สระสงคราม. (2561). การศึกษาความเป็นพิษต่อเซลล์และสารพันธุกรรมของสารสกัดใบมะละกอ โดยใช้ Allium test. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา]. ฐานข้อมูลคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยพะเยา (UP Digital Collections: UPDC).