การเตรียมตัวดูดซับจากวัสดุเหลือใช้ทางธรรมชาติเพื่อกำจัดสีย้อมเมทิลีนบลู
No Thumbnail Available
Date
2016
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
ในการศึกษานี้ทำการเตรียมตัวดูดซับซิลิกา-ไคโตซานแบบเม็ด เพื่อกำจัดเมทิลีนบลูในสารละลายน้ำโดยใช้เทคนิคยูวี-วิสิเบิล สเปกโทรสโกปีที่ตรวจวัดที่ความยาวคลื่น 664 นาโน
เมตร ทำการสังเคราะห์ตัวดูดซับซิลิกา-ไคโตซานแบบเม็ด โดยทำการสังเคราะห์ซิลิกาจากเถ้าแกลบแล้วปรับปรุงด้วยไคโตซาน ซึ่งจะทำให้เป็นเม็ดในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ด้วยวิธี Ball dropping ทำการศึกษาอัตลักษณ์ของตัวดูดซับโดยใช้เทคนิคฟูเรียร์ทรานสฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโกปี ศึกษาผลของสภาวะที่เหมาะสมต่อการดูดซับโดยทำการศึกษาเวลาความเข้มข้น พีเอช และอุณหภูมิที่เหมาะสมในการกำจัดเมทิลีนบลู อธิบายสมดุลการดูดซับโดยใช้ไอโซเทอมการดูดซับของแลงเมียร์ ฟรุนดิชและเทมคิน และศึกษาจลนพลศาสตร์การดูดซับจากปฏิกิริยาอันดับหนึ่งเทียมและปฏิกิริยาอันดับสองเทียม จลนพลศาสตร์การดูดซับและไอโซเทอมการดูดซับสามารถอธิบายได้โดยใช้ปฏิกิริยาอันดับสองเทียมและไอโซเทอมการดูดซับแบบแลงเมียร์ (R2 = 0.9911) พบว่า ความสามารถในการดูดซับสูงสุดของตัวดูดซับซิลิกา-ไคโตซานเม็ด ค่าเท่ากับ 5000 มิลลิกรัมต่อกรัม จากพารามิเตอร์ทางเทอร์โมไดนามิกส์ เช่น พลังงานอิสระกิบส์ เอนทาลปี และเอนโทรปี สามารถอธิบายได้ว่าการดูดซับสีย้อมเมทิลีนบลูเป็นการดูดความร้อนและสามารถเกิดขึ้นได้เอง
Description
In this study, the silica-chitosan beads were prepared for removal of methylene blue from aqueous solution by UV-visible spectroscopy technique and determined at 664 nm. The silica-chitosan beads were prepared by synthesis of silica from rice husk ash and modified with chitosan in sodium hydroxide solution via the ball dropping method (BDM). The adsorbents were characterized by Fourier Transform Infrared Spectroscopy ( FTIR). The preparation conditions and operational terms including contact time, dye concentration, pH and temperature on removal of MB were investigated. Adsorption equilibrium was described by Langmuir, Freundlich and Temkin isotherm models. the pseudo-first order and pseudo-second order were employed to evaluate the kinetic model. The experimental data fitted well with the Langmuir isotherm (R2 = 0.9911), yielding a maximum adsorption capacity
of 5000 mg/g. The kinetic data indicated that MB adsorption onto silica-chitosan beads can be represented by the pseudo second order-model. The thermodynamic parameters such as the standard enthalpy, standard entropy and standard free energy were evaluated. The obtained results indicated the adsorption of MB onto silica-chitosan beads is endothermic and spontaneous process.
Keywords
การดูดซับ, ซิลิกา-ไคโตซานเม็ด, วัสดุเหลือใช้, เมทิลีนบลู, ยูวี-วิสิเบิล สเปกโทรสโกปี, Adsorption, silica-chitosan beads, agricultural waste, methylene blue, UV-visible spectroscopy
Citation
สุจินดา แสนธิ และณัฐฐา ธิวงศ์คำ. (2559). การเตรียมตัวดูดซับจากวัสดุเหลือใช้ทางธรรมชาติเพื่อกำจัดสีย้อมเมทิลีนบลู. [ปริญญานิพนธ์บัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา.