แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดน่านในฐานเมืองรอง
No Thumbnail Available
Date
2020
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
งานวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดน่านในฐานะเมืองรอง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดน่าน 2) เพื่อศึกษาศักยภาพในการพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดน่าน 3) เพื่อวิเคราะห์การตลาดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดน่าน 4) เพื่อหาแนวทางในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดน่าน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative method) เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 24 คน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า จังหวัดน่านมีทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่หลากหลาย อาทิ แหล่งโบราณสถาน โบราณวัตถุ พิพิธภัณฑ์ ศิลปะการแสดง ขนบธรรมนียมประเพณี วิถีชีวิต และวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ นอกจากนี้ยังมีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ขึ้นชื่อ ได้แก่ ผ้าทอลวดลายโบราณ จากสีธรรมชาติ เครื่องเงิน ข้อมูลจากการสัมภาษณ์บ่งชี้ว่า ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ต้องเข้ามาสนับสนุนร่วมมือกัน ในการจัดการด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว สนับสนุนการพัฒนามัคคุเทศก์น้อย มัคคุเทศก์ท้องถิ่น รวมถึงการสร้างความเข้าใจในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนของจังหวัดน่าน ผู้วิจัยนำข้อมูลวิจัยดังกล่าว ไปวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกด้วยวิธี SWOT เพื่อหาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดน่าน ประกอบไปด้วย 1) การส่งเสริมการตลาดด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมท้องถิ่น ยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชน วิถีชีวิตของคนน่านและกลุ่มชาติพันธุ์ 2) การส่งเสริมการโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่หลากหลาย การพัฒนาการตลาดเพื่อประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว เน้นการใช้สื่อออนไลน์ พัฒนาเครือข่ายภาคีท่องเที่ยว และยกระดับคุณภาพของการบริการของบุคลากรท้องถิ่นเพี่อรองรับนักท่องเที่ยว 3) การวางแผนนโยบายที่มีเป้าหมายและทิศทางเดียวกัน การสำรวจแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมไม่ให้เสื่อมโทรม และรักษาให้อยู่ในสภาพเดิม คนในพื้นที่ต้องช่วยกันดูแลรักษาแหล่งท่องเที่ยวให้อยู่ในสภาพดี ตลอดจนการปลูกจิตสำนึกในการเป็นเจ้าบ้านที่ดี 4) การส่งเสริมและปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์เชิงวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น และการถ่ายทอดวัฒนธรรมที่มีไปสู่คนรุ่นใหม่ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ เห็นความสำคัญและคุณค่าในวัฒนธรรมของตน ภูมิใจที่จะนำเสนอความเป็นอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดน่าน
Description
The Research "Approaches to the Development and Promotion of Cultural Tourism in Nan Province as a Secondary Destination" aimed to, first of all, study the cultural tourism resources of Nan Province, study the potential for developing cultural tourism resources of the Nan Province; to analyze the cultural tourism marketing of this province, and to find ways to promote cultural tourism in Nan Province. This research used the qualitative method. Qualitative in-depth interviews were conducted with 24 stakeholders, and the research data used the content analysis. The interview data indicate that Nan Province is a living old town, Nan has various cultural tourism resources such as archaeological sites, antiques, museums, performing arts, traditions, local lifestyles, and cultures of ethnic groups. In addition, famous local wisdom has remained in place, including traditional patterned fabrics, natural colors, and silverware. The interview data also focused on the enchantment of the co-operation among stakeholders to promoted Cultural Tourism, the training of the young tour guides, local guides, and creating knowledge of sustainable cultural tourism in the Nan Province. The data were analyzed through a SWOT analysis to find ways to promoted cultural tourism in the province. The composition of plans was first: encouragement of local cultural tourism marketing, enhance community-based tourism, local lifestyle, and Ethnic group. Secondly, encouragement of various advertising, development the attractions promotion marketing, focused on online marketing, develop a network of tourism partners, and enhance the quality of service of local people to support tourists. Moreover, planning the directions of cultural tourism, surveying and restoring cultural attractions to not degrade and maintain them in their original condition, as well as increasing the amazing Thai host awareness of the locals. Finally, promoting and cultivating awareness of the local culture, its environment, and transferring existing cultural values and rituals to the new generation to preserve knowledge and understanding of both; these are deemed to be unique, and future generations should be able to proudly present the identity of the local culture of Nan Province.
Keywords
การพัฒนา, การส่งเสริม, การท่องเที่ยว, เชิงวัฒนธรรม, จังหวัดน่าน, Development, Promotion, Tourism, Cultural, Nan province
Citation
ศิริพร ถาวรวิสิทธิ์. (2564). แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดน่านในฐานเมืองรอง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา]. ฐานข้อมูลคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยพะเยา (UP Digital Collections: UPDC).