แนวทางการพัฒนาและการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองจังหวัดเชียงราย

No Thumbnail Available
Date
2020
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงราย 2) แนวทางการพัฒนาองค์ประกอบของการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงราย 3) แนวทางการส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงราย 4) แนวทางการกำหนดยุทธศาสตร์การตลาดการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงราย เป็นวิธีวิจัยเชิงผสม ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงราย จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมทางสถิติในการทดสอบสมมติฐาน ใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าสถิติ F-test และค่าไค–สแควร์ (Chi–square Test) การวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ กลุ่มประชากรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและการส่งเสริมการท่องเที่ยว 4 ภาคส่วน จำนวน 25 คน ใช้การสัมภาษณ์แบบเชิงลึก แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักท่องเที่ยวที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็นต่อด้านจำนวนครั้งที่เคยไป ด้านวิธีการเดินทาง และด้านค่าใช้จ่าย แตกต่างกัน และนักท่องเที่ยวเพศ อายุ ระดับการศึกษาและรายได้ อาชีพต่างกันมีความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาดในแต่ละด้านไม่แตกต่างกัน ขณะที่นักท่องเที่ยวที่มีอาชีพต่างกันมีความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาดต่างกัน ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านราคา 2) แนวทางการพัฒนาองค์ประกอบของการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงราย ควรพัฒนาด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ด้านสาธารณูปโภค ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว 3) แนวทางการส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงราย พัฒนาให้มี Wi Fi ในเส้นทางเชื่อมต่อประเทศเพื่อนบ้าน ควรเร่งสร้างความรู้ ความเข้าใจ ด้านภาพลักษณ์ของสินค้า ด้านบุคลากร และด้านผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้หน่วยงานภาครัฐควรส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ และให้ชุมชนมีส่วนร่วมมากขึ้น 4) แนวทางการกำหนดยุทธศาสตร์การตลาดการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงราย ในรูปแบบโมเดล The Paradigm of Chiang Rai Star เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงรายต่อไป
Description
The purposes of this study were 1) to study the behaviour and needs of Thai tourists travelling to Chiang Rai province, 2) to create a guideline for tourism elements development in Chiang Rai Province, 3) to create a guideline for tourism marketing promotion in Chiang Rai Province, and 4) to create a guideline for planning the tourism marketing strategies in Chiang Rai Province. This study was a mixed-methods research including 1) a quantitative research using questionnaires on 400 Thai tourists travelling to Chiang Rai Province. The F-test and Chi–square Test were used to test research hypothesis, and 2) a qualitative research using structured in-depth interview and content analysis on 25 participants from 4 sectors. The results showed that 1) tourists with different genders had different opinions towards times of visiting, travelling methods, and expenses. Tourists with different genders, ages, education levels, and income rate had similar opinion towards each marketing mix while Tourists with different careers had different opinions towards the Product and Price of marketing mix, 2) the guideline for tourism elements development in Chiang Rai Province indicated that Accessibility, Amenities, and Activities in Chiang Rai should be developed, also, its management efficiency should be improved, 3) the guideline for tourism marketing promotion in Chiang Rai Province indicated that Wi-Fi should be provided throughout the routes between Thailand and borderline country. Government sectors should co-operate with communities to know and understand the products’ image, personnel, and products, and 4) the guideline for planning the tourism marketing strategies in Chiang Rai Province proposed that the Paradigm of Chiang Rai Star Model should be applied in developing and promoting tourism in Chiang Rai province
Keywords
การพัฒนาการท่องเที่ยว, การส่งเสริมการท่องเที่ยว, พฤติกรรมนักท่องเที่ยว, องค์ประกอบของการท่องเที่ยว, ส่วนประสมการตลาด, แผนยุทธศาสตร์แบบบูรณาการ, Tourism development, Tourism promotion, Tourist behavior, Tourism components, Marketing mix, Integrated strategic plan
Citation
มานะศิลป์ ศรทนงค์. (2563). แนวทางการพัฒนาและการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองจังหวัดเชียงราย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา]. ฐานข้อมูลคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยพะเยา (UP Digital Collections: UPDC).