ศักยภาพของปุ๋ยชีวภาพจากราเอนโดไฟท์ Trichoderma phayaoense (L1I3) เพื่อส่งเสริมคุณภาพ และควบคุมโรคในมะเขือเทศ

Loading...
Thumbnail Image
Date
2023
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของราเอนโดไฟท์ Trichoderma phayaoense (L1I3) ต่อการส่งเสริมการเจริญเติบโต คุณภาพการผลิต และการควบคุมโรคในมะเขือเทศ ในระดับห้องปฏิบัติการและระดับโรงเรือน โดยทดสอบการกระตุ้นการงอกของเมล็ดมะเขือเทศ จำนวน 10 สายพันธุ์ พบว่า สารแขวนลอยสปอร์ของรา T. phayaoense (L1I3) ที่ระดับความเข้มข้น 1.0×108 สปอร์ต่อมิลลิลิตร ทำให้เมล็ดมีอัตราการงอกมากที่สุด และช่วยเพิ่มความสม่ำเสมอในการงอกของเมล็ดพันธุ์ ในขณะที่การทดสอบรา T. phayaoense (L1I3) ในการยับยั้งการเจริญของราสาเหตุโรคในมะเขือเทศ จำนวน 4 สายพันธุ์ ได้แก่ Rhizoctonia solani (AG-2), Fusarium oxysporum, Pythium aphanidermatum และ Sclerotium rolfsii ด้วยวิธี dual culture พบว่ารา T. phayaoense (L1I3) สามารถยับยั้งการเจริญของรา Pythium aphanidermatum ได้มากที่สุด เท่ากับ 73.20% รองลงมาสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ R. solani (AG-2) S. rolfsii และ F. oxysporum มีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งเท่ากับ 60.53%, 49.09% และ 25.91% ตามลำดับ ต่อมาศึกษาผลของปุ๋ยชีวภาพจากรา T. phayaoense (L1I3) เคลือบอัลจิเนตต่อการควบคุมราสาเหตุโรคของมะเขือเทศในระยะต้นกล้าระดับโรงเรือน พบว่า ปุ๋ยชีวภาพจากรา T. phayaoense (L1I3) ควบคุมโรคที่เกิดจากรา F. oxysporum ได้ดี โดยมีอัตราการเกิดโรคน้อยที่สุด เท่ากับ 31.15% การศึกษาผลของปุ๋ยชีวภาพจากรา T. phayaoense (L1I3) เคลือบอัลจิเนต ต่อการส่งเสริมการเจริญเติบโตของมะเขือเทศ 3 สายพันธุ์ ในระดับโรงเรือน พบว่า การใส่ปุ๋ยชีวภาพจากรา T. harzianum เคลือบอัลจิเนต ส่งผลให้ความสูงของมะเขือเทศทั้ง 2 พันธุ์ ได้แก่ Sweet princess และ Indigo rose มีความสูงต่างการกรรมวิธีอื่นๆ ในขณะที่รา T. phayaoense (L1I3) เคลือบอัลจิเนต มีปริมาณวิตามินซีและปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้ มากที่สุดในพันธุ์ Sweet princess และ Indigo rose ส่วนพันธุ์ Sweet boy ชุดควบคุมมีผลดีที่สุด
Description
The objective of this research was to study the effect of the endophytic fungus Trichoderma phayaoense (L1I3) on promoting growth, production quality and disease control of tomatoes at the laboratory and greenhouse level. By testing the germination stimulation of ten tomato varieties, it was found that the spore suspension of T. phayaoense (L1I3) at a concentration of 1.0 × 108 spores per milliliter was showed highest germination rate and increases the consistency of seed germination. The ability of T. phayaoense (L1I3) to inhibit the growth of four tomato pathogens: Rhizoctonia solani (AG-2), Fusarium oxysporum, Pythium aphanidermatum, and Sclerotium rolfsii was tested using the dual culture method. It was discovered that T. phayaoense was able to inhibit the growth of Pythium aphanidermatum at 73.20%, followed by the ability to inhibit the growth of R. solani (AG-2), S. rolfsii and F. oxysporum with a percentage of inhibition to 73.20%. 60.53%, 49.09% and 25.91% respectively. The effect of biofertilizer from T. phayaoense (L1I3) coated with alginate for control fungal diseases of tomatoes seedling was studied in greenhouse. It was found that biofertilizer from T. phayaoense (L1I3) could controlled the disease caused by F. oxysporum with the lowest disease incidence of 31.15%. The effects of biofertilizer from T. phayaoense (L1I3) coated with alginate to promote the growth of three tomato varieties in greenhouse were tested. It was found that the application of biofertilizer from T. harzianum coated with alginate showed higher the shoot height of the two tomato varieties (Sweet princess and Indigo rose). While the use of T. phayaoense (L1I3) coated with alginate showed the highest vitamin C and total soluble solids in sweet princess and Indigo rose varieties. For the Sweet boy variety from the control treatment had the best results.
Keywords
ไลโคปีน, อัลจิเนต, มะเขือเทศ, ราเอนโดไฟท์, Lycopene, Alginate, Tomato, Endophyte
Citation