ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่ตำบลป่าซาง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

Loading...
Thumbnail Image
Date
2022
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การวิจัยเชิงพยากรณ์ (Predictive research) นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอำนาจในการทำนายพฤติกรรมการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่ตำบลป่าซาง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่าง คือ หัวหน้าครัวเรือน หรือตัวแทนครัวเรือน ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลป่าซาง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย คำนวณโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) โดยขั้นตอนแรกคำนวณสัดส่วนแต่ละหมู่บ้าน จากนั้นสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ให้ได้ขนาดตัวอย่างในแต่ละหมู่บ้านตามสัดส่วนที่คำนวณได้ จนครบ 364 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Pearson correlation และ Multiple Regression Analysis ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 210 คน (ร้อยละ 57.7) อยู่ในช่วงอายุ 36–59 ปี 226 คน (ร้อยละ 62.1) นับถือศาสนาพุทธ 349 คน (ร้อยละ 95.9) ระดับการศึกษาสูงสุด ประถมศึกษา 180 คน (ร้อยละ 49.5) ประกอบอาชีพรับจ้าง 119 (ร้อยละ 32.7) รายได้ของครอบครัว 5,000–15,000 บาท 189 คน (ร้อยละ 51.9) สถานภาพสมรส 248 คน (ร้อยละ 68.1) ไม่มีตำแหน่งทางสังคม 279 คน (ร้อยละ 76.6) และไม่มีประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก 326 คน (ร้อยละ 89.6) มีพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 80.8 และปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยรวมได้ร้อยละ 12.3 % (R2= 0.123, Adj.= 0.111, F = 4.653, Sig = 0.032) ได้แก่ สถานภาพหย่า/แยกกันอยู่ อาชีพ ธุรกิจส่วนตัว การดำรงตำแหน่งผู้ช่วย ผู้ใหญ่บ้าน/คณะกรรมการหมู่บ้าน การมีทักษะในการใช้ทรัพยากรในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกและมาตรการชุมชนในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน
Description
This predictive research aimed to study factors predicting preventive and control behaviors on dengue hemorrhagic fever (DHF) among Pasang subdistrict people, Maechan district, Chiang Rai Province, 364 participants were selected by cluster sampling, data were collected by questionnaires, analyzed by frequency, percentage, mean, standard division, Pearson correlation and multiple regression analysis. The result revealed that more than half of participants were female (57.70%), age = 36-59 years old (62.1%), Buddhism (95.9%), education or primary school level (49.5%), general employee (32.7%), income 5,000-15,000 bath (51.9%), couple (68.1%), no social position (76.6%), no history of DHF (89.6%), had DHF prevention and control behaviors at moderate level (80.8%) and factors predicted overall preventive behaviors and DHF control among people were 12.3%(R2 = 0.123, Adj.= 0.111, F = 4.653, Sig = 0.032) include divorce/separating status, personal business career, assistant village headman/village committee, resource skill for DHF prevention and control and community measures
Keywords
พฤติกรรม, ไข้เลือดออก, การป้องกันและควบคุม, Behaviors, Dengue Hemorrhagic Fever, Prevention and Control
Citation