ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความขัดแย้งกับการทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 2

Loading...
Thumbnail Image
Date
2022
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการจัดการความขัดแย้งในสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาการทำงานเป็นทีมของครู และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความขัดแย้งกับการทำงานเป็นทีมของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการครูโรงเรียนในอำเภอแม่สรวย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 จำนวน 302 คน ได้มาจากการกำหนดกลุ่ม ตัวอย่างจากตารางของเครจซี่ และมอร์แกน เมื่อได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างแล้ว จึงใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับซึ่งการวิจัยครั้งนี้ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องที่ 0.67–1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาที่ระดับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงหาความถี่ การหาค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย การหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหาร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า วิธีการที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ วิธีการประนีประนอม รองลงมา คือ วิธีการร่วมมือ และวิธีการหลีกเลี่ยงตามลำดับ และส่วนวิธีการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ วิธีการเอาชนะ 2) การทำงานเป็นทีมของครู โดยภาพรวมทุกวิธีการอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ย มากที่สุด คือ ด้านการมีเป้าหมายร่วมกัน รองลงมา คือ ด้านการมีส่วนร่วมในงาน และด้านการยอมรับนับถือตามลำดับ และส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการติดต่อสื่อสาร 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความขัดแย้งกับการทำงานเป็นทีมของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 มีความสัมพันธ์ทางบวก ระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Description
This study aims to 1) to study the conflict management. 2) to study teamwork of teachers 3) to study the relationship between the conflict management and teamwork of teachers under Chiang Rai Primary Educational Service Area Office 2. The samples used in this research were 302 teachers of Maesuai District under Chiang Rai Primary Educational Service Area Office 2. The sample size was determined using Krejcie & Morgan and then stratified sampling. This research has a consistency index of 0.67–1.00 and the confidence value of 0.89. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, and Pearson Product Moment Correlation. The results of this research found that: 1) the conflict management, overall, was at the highest level when considering by side, it was found that the method with the highest mean was the compromise method, followed by the cooperation and the avoidance method respectively and the method with the lowest mean is how to overcome 2) teamwork of teachers, overall, was at the highest level when considering each side, it was found that the aspect with the highest average values was the aspect with common goals, followed by the aspect of work participation and the aspect of acceptance, respectively and the aspect with the lowest average was communication. 3) The relationship between the conflict management and teamwork of teachers under Chiang Rai Primary Educational Service Area Office 2. The samples used in this research were teachers of Maesuai District under Chiang Rai Primary Educational Service Area Office 2 found that there was a moderate relationship in a positive direction at the statistical significance level of 0.01.
Keywords
การบริหารการศึกษา, การจัดการความขัดแย้ง, การทำงานเป็นทีม, Educational Administration, Conflict management, Teamwork
Citation