การพัฒนาระบบผลตอบแทนเพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงาน: กรณีศึกษา ร้านเอบีซี ตำบลท่าวังทอง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
Loading...
Date
2018
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาระบบผลตอบแทน เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานร้านเอบีซี ใช้วิธีการวิจัยโมเดลผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการผสานแบบมีรูปแบบหลักร่วมกับรูปแบบรอง มีการเก็บรวบรวมข้อมูลดังนี้ โดยเริ่มจากการศึกษากรอบแนวคิดตามการศึกษาของ Decenzo and Robbin (2009) และใช้การวิเคราะห์ช่องว่างของระบบตอบแทน Brown (2001 อ้างอิงใน Armstrong, 2006) เป็นแนวคำถามในการสัมภาษณ์ ซึ่งสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัวกับเจ้าของกิจการ 1 ราย และพนักงานร้านเอบีซี 5 ราย จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลการสัมภาษณ์ เพื่อระบุปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานร้านเอบีซี เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบแบบสอบถาม และเก็บรวมรวบข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถาม จำนวน 50 ชุด ให้กับพนักงานร้านเอบีซี จำนวน 50 ราย จากแบบสอบถาม จำนวน 50 ชุด ได้รับข้อมูลที่สมบูรณ์ จำนวน 40 ชุด ส่วนแบบสอบถามที่เหลืออีก 10 ชุด เป็นแบบสอบถามที่ไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ เนื่องจากแบบสอบถามสูญหาย และนำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปร และการวิเคราะห์การถดถอย จากการวิเคราะห์ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ พบว่า นอกจากการลางาน อายุการทำงานแล้วนั้น โอกาสที่จะทำงานต่อในอนาคต สามารถเป็นตัวชี้วัดการสร้างแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานร้านเอบีซีได้ดีเช่นกัน ทั้งนี้เพื่อการสร้างแรงจูงใจในการทำงานที่เพิ่มขึ้น ควรให้พนักงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในที่ประชุม และการดูแลสินค้าของพนักงานร้านเอบีซี นอกจากนี้ องค์การควรให้ความสำคัญกับการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน โดยสร้างระบบผลตอบแทนที่มีผลต่อความรู้สึกมากกว่าผลตอบแทนที่อยู่ในรูปแบบของตัวเงิน
Description
This study aims to develop ABC store’s reward systems for promoting employee motivation by using mixed model research design, which integrates quantitative research with qualitative research. The research design is as follows. First, Decenzo and Robbin’s (2009) concept of reward systems and Brown’s (2001) Reward Gap Analysis (referred to Armstrong, 2006) were used to develop questions for semi structured face-to-face interviews with the owner and 5 employees. The interview data were then analyzed in order to identify factors which influence employee motivation. Second, the factors identified by the interviews were used to develop the questionnaire. 50 questionnaires were distributed to the employees. Data from the 40 completed questionnaires were finally analyzed by descriptive statistics, correlations, and regression. From quantitative and qualitative analyses, it is found that employee retention, as well as absence and working years, can be the effective indicators of employee motivation. To promote employee motivation, ABC store should give the employees opportunities to participate in the company’s decision making at meetings and should assign them the responsibilities of taking care of the valuable products. Importantly, the company should attach the importance to promoting employee motivation by using non-financial rewards rather than financial rewards.
Keywords
ระบบผลตอบแทน, แรงจูงใจในการทำงาน, Reward systems, Employee motivation