การตอบสนองต่อความร้อนของเซลล์เยื่อบุผิวท่อนำไข่และการพัฒนาของเซลล์ไข่สุกร
Loading...
Date
2019
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ เพื่อศึกษาอัตราการมีชีวิตรอดของเซลล์เยื่อบุผิวท่อนำไข่ และเซลล์ไข่ที่ได้รับอุณหภูมิร้อน (Exposed Heat Shock; EHS) ในหลอดทดลอง การศึกษาที่ 1 ศึกษาอัตราการมีชีวิตรอดของเซลล์เยื่อบุผิวท่อนำไข่ โดยใช้เซลล์เยื่อบุผิวท่อนำไข่ที่ถูกเก็บจากสุกรสาวทั้งหมด 18 ตัว แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 EHS 38.5 องศา เป็นเวลา 12 ชั่วโมง (Control) กลุ่มที่ 2 EHS 38.5 องศา เป็นเวลา 24 ชั่วโมง (Control) กลุ่มที่ 3 EHS 40 องศา เป็นเวลา 12 ชั่วโมง กลุ่มที่ 4 EHS 40 องศา เป็นเวลา 24 ชั่วโมง กลุ่มที่ 5 EHS 42 องศา เป็นเวลา 12 ชั่วโมง และกลุ่มที่ 6 EHS 42 องศา เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ผลพบว่า กลุ่มที่ 1 มีอัตราการมีชีวิตรอด เท่ากับ 99.09 ± 0.68% สูงกว่ากลุ่มที่ 4 (97.45 ± 1.43%) กลุ่มที่ 5 (95.90 ± 2.29%) และกลุ่มที่ 6 (95.88 ± 1.89%) ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.01) แต่ไม่แตกต่างกันกับ กลุ่มที่ 2 (98.95 ± 0.56%) และกลุ่มที่ 3 (97.59 ± 1.31%) (P > 0.01) การศึกษาที่ 2 ศึกษาการเพาะเลี้ยงเซลล์ไข่ร่วมกับเซลล์เยื่อบุผิวท่อนำไข่ที่ได้รับอุณหภูมิที่แตกต่างกัน รังไข่ถูกเก็บจากสุกรสาวทั้งหมด 382 ตัว ผลพบว่า มีการขยายของเซลล์คิวมูลัส (Cumulus) เมื่อเลี้ยงไปถึงชั่วโมงที่ 44 ในกลุ่มที่ 1 (6.12 ± 0.90 µm) มากกว่ากลุ่มที่ 3 (5.80 ± 0.88 µm) กลุ่มที่ 4 (5.79 ± 0.90 µm) กลุ่มที่ 5 (5.80 ± 0.95 µm) และกลุ่มที่ 6 (5.65 ± 1.09µm) ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.01) แต่ไม่แตกต่างกันกับ กลุ่มที่ 2 (6.08 ± 0.93 µm) (P>0.01) และผลของอัตราการพัฒนาของเซลล์ไข่ไปจนถึงระยะ Metaphase II ในกลุ่มที่ 1 (65.85%) มีค่ามากกว่ากลุ่มที่ 2 (64.30%) กลุ่มที่ 3 (61.88%) กลุ่มที่ 4 (60.82%) กลุ่มที่ 5 (61.88%) และกลุ่มที่ 6 (61.82%) ดังนั้นสรุปได้ว่า อุณหภูมิสูงส่งผลต่ออัตราการมีชีวิตรอดของเซลล์เยื่อบุผิวท่อนําไข่การขยายของเซลล์คิวมูลัส และการพัฒนาของเซลล์ไข่
Description
The experiments aims to study viability rate of oviduct epithelial cell (OEC) and oocytes after exposed heat shock (EHS) in vitro culture. Study 1, to study on the viability rate of OEC after EHS different temperatures, oviducts were collected from 18 gilts at local slaughterhouse. Completely randomized design was used. There were 6 groups (group 1 EHS 38.5 °C 12 h, group 2 EHS 38.5 °C 24 h, group 3 EHS 40 °C 12 h, group 4 EHS 40 °C 24 h, group 5 EHS 42 °C 12 h and group 6 EHS 42 °C 24 h). The results showed that group 1 (99.09 ± 0.68%) had viability rate than group 4 (97.45 ± 1.43%), group 5 (95.90 ± 2.29%) and group 6 (95.88 ± 1.89%) with statistical significance (P < 0.01) but not different from with group 2 (98.95 ± 0.56%), group 3 (97.59 ± 1.31%) (P > 0.01). Study 2, study on cumulus-oocyte complexes (COCs) co-culture OEC EHS with the different temperature was determined in vitro culture system. Ovaries were collected from 282 gilts. The results showed that after culture for 44 h in group 1 (6.12 ± 0.90µm) was expanded cumulus cells higher than group 3 (5.80 ± 0.88 µm), group 4 (5.79 ± 0.90 µm), group 5 (5.80 ± 0.95 µm) and group 6 (5.65 µm) with statistical significance (P < 0.01), but not significance with group 2 (6.08 ± 0.93 µm); (P>0.01). Development rate of oocytes to metaphase II stage in group 1 (65.85%) is higher than group 2 (64.30%), group 3 (61.88%), group 4 (60.82%), group 5 (61.80%) and group 6 (61.82%). It was concluded that high temperature decreases viability rate of OEC, expanded of cumulus cells COCs and development rate of oocytes to metaphase II stage. Therefore, we conclude that high temperature affects the viability rate of oviduct epithelial cell, development of oocytes and expanded of cumulus cell.
Keywords
เซลล์เยื่อบุผิวท่อนำไข่, อุณหภูมิสูง, การเพาะเลี้ยงเซลล์ไข่ในหลอดทดลอง, สุกร, Oviduct epithelium cell, High temperature, In vitro oocytes maturation, Porcine