ผลโปรแกรมทันตสุขภาพเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ตำบลทุ่งกล้วย อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา

Loading...
Thumbnail Image
Date
2018
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมทันตสุขภาพเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ตำบลทุ่งกล้วย อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 66 คน ประกอบด้วยกลุ่มทดลอง 33 คน และกลุ่มควบคุม 33 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมทันตสุขภาพที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น ใช้เวลาศึกษา 12 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลองในทั้งสองกลุ่ม โดยใช้แบบสอบถามและแบบบันทึกปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์ด้วยสถิติเชิงอนุมาน คือ Paired sample T-test และ Independent sample T-test ตามลำดับ โดยกำหนดนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการปฏิบัติตัวในการดูแลอนามัยช่องปาก ก่อนการทดลองและมีปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์บนตัวฟันน้อยกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลอง มีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการปฏิบัติตัวในการดูแลอนามัยช่องปากสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบและมีปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์บนตัวฟันน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Description
This quasi-experimental research was designed to study the Effects of Dental Health Education Program for Oral health care behavioral Modification among primary school in Phusang District, Phayao Province. The sample consisted of 66 students; 33 students were assigned to an experimental group and 33 students were assigned to a control group. Data were collected 12 weeks. Data were collected by questionnaire and record the amount of plaque. The statistics used for analyzing data were Paired samples t-test, and Independent samples t-test. The results of the study revealed that after the experiment, the mean scores of experimental group relating to knowledge, attitude and Oral health care behavioral were higher than before the experiment. Additionally, the mean score of dental plaque was significantly lower than before the experiment (p < 0.05). After the experiment, the mean scores of knowledge, attitude and Oral health care behavioral of the experimental group were higher than the control group. Also the mean score of dental plaque of the experimental group was significantly lower than control group (p < 0.05).
Keywords
โปรแกรมทันตสุขภาพ, การดูแลอนามัยช่องปากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย, Dental Health Education, Oral health care behavioral among primary school
Citation