ผลการพัฒนาชุดฝึกทักษะการวาดภาพลายเส้นตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสซึมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที 5 โรงเรียนวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก
Loading...
Date
2020
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
ผลการพัฒนาชุดฝึกทักษะการวาดภาพลายเส้นตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสซึมสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างชุดฝึกทักษะการวาดภาพลายเส้น ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสซึม จำนวน 12 เล่ม ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เพื่อศึกษาทักษะการวาดภาพลายเส้น ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และเพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนที่มีต่อชุดฝึกทักษะการวาดภาพลายเส้น ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสซึม ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 28 คน โรงเรียนวัดโบสถ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 3 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ครั้งนี้เป็นเครื่องมือที่ผู้วิจัยเป็นผู้สร้างขึ้นประกอบด้วย ชุดฝึกทักษะการวาดภาพลายเส้น ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสซึม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์แบบวัดทักษะการวาดภาพลายเส้น แบบวัดเจตคติของนักเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการวาดภาพลายเส้น ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสซึมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา (ทัศนศิลป์) โดยรวมมีประสิทธิภาพ 86.53/80.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ทุกเล่ม 2) คะแนนเฉลี่ยทักษะการวาดภาพลายเส้น หลังเรียนมีค่าเท่ากับ 30.24 คิดเป็นร้อยละ 84.88 ซึ่งสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนมีค่าเท่ากับ 9.07 คิดเป็นร้อยละ 25.46 3) เจตคติต่อการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้ศิลปศึกษา (ทัศนศิลป์) มีระดับเจตคติต่อการเรียน เห็นด้วยมากที่สุด ร้อยละ 94.00 เห็นด้วยมากกว่าร้อยละ 6.00
Description
The objectives of this study were to develop 12 line drawing skill training sets based on the constructivism concept and to determine students’ attitude towards the developed line drawing skill training sets based on the constructivism concept. The population of this study was 28 grade 5 students at Wat Bot School under Phitsanulok Primary Educational Service Area Office 3. The research instruments were self-administered tools, comprising line drawing skill training sets based on the constructivism concept, achievement test, line drawing skill test, and attitude test. The results of this research indicated as follows: 1) The overall efficiency of all developed line drawing skill training sets based on the constructivism concept for grade 5 students in Art Education Learning Group (Visual Arts) was 86.53 / 80.00, which was higher than the set criteria. 2) After taught with the developed training sets, a mean posttest score for line drawing skills was 30.24, accounting for 84.88%, which was higher than a mean pretest score of 9.07, accounting for 25.46%. 3) In terms of the attitude of the sample taught with Art Education (Visual Arts) towards the developed training sets, the sample’s agreement was at the highest level (94.00%) and at a high level (6.00%).
Keywords
ชุดฝึกทักษะการวาดภาพลายเส้น, แนวคิดคอนสตรัคติวิสซึม, ชั้นประถมศึกษา, Line drawing skill, Training set Constructivism, Primary school