การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในยุคดิจิทัล : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลป่าซาง อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา
Loading...
Date
2022
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมอุปสรรคและปัญหา และนำไปสู่การนำเสนอแนวทางการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในยุคดิจิทัลขององค์กรบริหารส่วนตำบลป่าซาง อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ซึ่งดำเนินการศึกษาโดยการวิจัยเชิงคุณภาพ และกำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักทั้งหมด 22 คน เก็บรวบรวมข้อมูล ผ่านเครื่องมือแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ผลการศึกษาพบว่า อุปสรรคและปัญหาในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ในยุคดิจิทัลขององค์การบริหารส่วนตำบลป่าซาง มี 4 ข้อ ได้แก่ 1) แผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กร ยังไม่ครอบคลุมด้านเทคโนโลยี 2) ศักยภาพด้านเทคโนโลยีขององค์กรมีจำกัด 3) ความสามารถด้านเทคโนโลยี ของบุคลากรมีน้อย 4 ทัศนคติของบุคลากรที่มีต่อเทคโนโลยีมีความแตกต่างกัน จากอุปสรรคและปัญหาที่พบ สามารถนำมาพัฒนาเป็นแนวทางการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในยุคดิจิทัลขององค์กร ได้ดังนี้ 1) การรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำแผนงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ และติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง 2) การจัดสรรงบประมาณด้านเทคโนโลยีไว้ในข้อบัญญัติอย่างชัดเจน 3) การส่งเสริมพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ด้านการใช้เทคโนโลยีอย่างสม่ำเสมอ 4) การจัดทำการประเมินผลด้านเทคโนโลยีและทัศนคติที่มีต่อเทคโนโลยีแก่บุคลากรพร้อมทั้งนำข้อบกพร่องมาดำเนินการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น
Description
The objective of studying is to collect obstacles and problems and to find out guidelines on human resource management in the digital age of Pa Sang Sub-district Administrative Organization in Dok Khamtai District, Phayao Province. The study was conducted in a qualitative format and assigned a group of 22 key informants to collect data through a semi-structured interview tool. The study found that obstacles and problems in human resource management in the digital age of Pa Sang Sub-district Administrative Organization divided into 4 aspects: 1) The organization's human resource development plan excludes technology. 2) The organization's technological potential is limited. 3) Personnel have limited technological capabilities. 4) Employees have different perspectives on technology. A guideline can be produced because of the obstacles and problems encountered. Organizational human resource management in the digital era is as follows: 1) Data collection for development plans, efficient human resources, and continuous monitoring of operating results. 2) Allocation of funds for Technology clearly stated in the ordinance. 3) Encouragement of personnel development to gain knowledge of using technology.4) Conducting technology assessments and different perspectives on technology for personnel as well as bringing bugs to improve the system.
Keywords
การจัดการทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลป่าซาง, ยุคดิจิทัล, Human Resource Management of Pa Sang subdistrict Administrative Organization, Digital Age