เจงกิสข่าน: การศึกษาประพันธวิธีในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์วีรบุรุษแห่งโลกตะวันออกของนักเขียนไทยร่วมสมัย

Loading...
Thumbnail Image
Date
2021
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประพันธวิธีในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์วีรบุรุษแห่งโลกตะวันออกของนักเขียนไทยร่วมสมัย โดยใช้ตัวบทนวนิยายอิงประวัติศาสตร์เจงกิสข่าน ที่ตีพิมพ์ช่วงระหว่าง พ.ศ. 2498 -2556 จำนวน 3 เรื่อง คือ เตมูยิน จอมจักรพรรดิเย็นกิสข่าน ของประพันธกร เจ็งกิ้ซข่าน ของ สุภา ศิริมานนท์ และเจงกิสข่าน ของ "สุริยา" มาใช้ในการวิจัย โดยใช้แนวคิดการประกอบสร้างนวนิยาย แนวคิดการสร้างภาพลักษณ์ในวิถีวีรบุรุษของเจงกิสข่าน และการศึกษาแนวคิดการประกอบสร้างนวนิยายเจงกิสข่าน ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1) แนวคิดการประกอบสร้างนวนิยาย พบว่า ผู้ประพันธ์นำข้อมูลจากหนังสือสารคดี และหนังสือประวัติศาสตร์ สร้างผสานกับจินตนาการจากมุมมองและการตีความเฉพาะตน แล้วนำเสนอเนื้อหาผ่านโครงเรื่องชีวิตความขัดแย้งและปมปัญหาที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ แก่นเรื่องเน้นเชิดชูและวิพากษ์วีรบุรุษโดยใช้มุมมองการเล่าเรื่องแบบผู้รู้ มีตัวละคตรเจงกิสข่านเป็นแกนกลางของเรื่อง นวนิยายเน้นความสมจริงของฉากและบทสนทนา โดยมีกลวิธีทางภาษาที่มีวรรณศิลป์เป็นแบบเฉพาะตน 2) แนวคิดการสร้างภาพลักษณ์ในวิถีวีรบุรุษของเจงกิสข่าน มี 2 ประเด็น การศึกษาวัฒนวิถีแห่งวีรบุรุษ มี 2 ส่วน ส่วนที่ 1 แบบโครงสร้างชีวิตของวีรบุรุษในวัฒนธรรมประเพณี พบว่า มีความสอดคล้องกับแนวคิดการศึกษาแบบโครงสร้างชีวิตของวีรบุรุษในวัฒนธรรมประเพณีของลอร์ด แรกแลน แม้ผู้เขียนเน้นบทบาทวีรบุรุษในประวัติศาสตร์แต่มีภาพซ้อนวีรบุรุษในวัฒนธรรมประเพณีด้วย ส่วนที่ 2 การวิเคราะห์ชีวีวิวัฒน์แห่งวีรบุรุษ พบว่า วิถีของเจงกิสข่านสอดคล้องกับวงจรการผจญภัยของวีรบุรุษตามทฤษฎีของโจเซฟแคมพ์เบลล์ สามารถแบ่งโครงสร้างแกนวัฒนวิถีวีรบุรุษตามเกณฑ์การแสวงหาสารสาระที่แตกต่างกัน 2 ครั้ง พบขั้นตอนถนนแห่งการทดสอบหลายเหตุการณ์แสดงถึงการต่อสู้กับอุปสรรคปัญหาอย่างสาหัส แต่วีรบุรุษใช้สติปัญญา ความสามารถ ความเป็นผู้นำ และการช่วยเหลือจากภายนอก ด้วยการแสวงหาเครือข่ายพันธมิตร การแนะนำจากมารดาและภรรยาในฐานะเทพเทวี ผสานกับการเชื่อมั่นว่าได้รับพลังสนับสนุนจากเทพเทนกรี จึงผ่านพ้นอุปสรรค แล้วนำสิ่งล้ำค่าจากโลกแห่งการผจญภัย คือ ก่อตั้งรัฐชาติ เกียรติยศ อิสระ สันติสุข และอารยธรรม มามอบให้สังคมมองโกล 2 แนวคิดการสร้างภาพลักษณ์เจงกิสข่านในนวนิยาย มีการเสนอภาพลักษณ์ต่างกันตามจุดมุ่งหมายของผู้เขียน 2 ประเด็น คือ 1) ภาพลักษณ์ที่ปรากฏในเอกสารทางประวัติศาสตร์ มี 7 ภาพลักษณ์ คือ ภาพลักษณ์วีรบุรุษผู้ปราบกลียุค วีรบุรุษผู้สร้างรัฐชาติและอารยธรรม จักรพรรดิวิชิตราช วีรบุรุษผู้มีความเป็นผู้นำ วีรบุรุษผู้เปลี่ยนแปลงโลก วีรบุรุษของศาสนา และจักรพรรดิผู้เหี้ยมโหด 2) ภาพลักษณ์ที่ผู้เขียนสร้างขึ้น มี 7 ภาพลักษณ์ คือ ภาพลักษณ์ครอบครัวมีสุข บุตรที่ดีของบิดามารดา ธรรมิกราช วีรบุรุษจอมโจร นักรบนักรัก นักประชาธิปไตย และวีรบุรุษทรราช โดยมีวิธีประกอบสร้างภาพลักษณ์ที่หลากหลาย การประกอบสร้างนวนิยายเจงกิสข่านของนักเขียนไทยร่วมสมัย มีแนวคิดสำคัญ 5 แนวคิด คือ แนวคิดยกย่องเจงกิสข่านในฐานะบุคคลสำคัญของโลก แนวคิดกษัตราธิปไตย แนวคิดชาตินิยม แนวคิดวิพากษ์สังคม และแนวคิดเชิดชูวีรบุรุษ
Description
The aim of this research was to study historical novels about the heroes of the eastern world by Thai contemporary authors. This study focused on three historical fictions of Genghis Khan published between 1955-2013, including Temujin Chom Chakkraphat Yenghisakhan by Praphanthakorn, Chengkitsakhan by Supha Sirimanon, and Genghis Khan by "Suriya". The study applied the concept of novel construction, image building in the hero way of Genghis Khan, and the creation of Genghis Khan novels. The results were: 1) Regarding the novel construction concept, the authors searched data from documentary books and history books in combination with their imagination from their attitude and interpretation before presenting the content through the life conflicts and obstacles stated in history. The core of the story was to honor and criticize the hero by using an omniscient point of view. Genghis Khan is the main character of the story. The novel focused on realistic scenes and conversation. Each novelist had their own way of demonstrating the art of literature. 2) According to the image building in the hero way of Genghis Khan, there were two concepts: 1) the study of the heroic cultural way could be divided into two parts: Part 1, the life structure of traditional and cultural hero was under the concept of culture hero's life structure by Lord Raglan. Even though the authors focused on the hero role in history, they also represented the cultural and traditional hero image; In Part 2, the analysis of heroic culture, it was found that Genghis Khan's way conforms to Joseph Campbel's theory of the hero's journey. The core of heroic cultural structure could be divided twice following the different content searching criteria, and it was found that the testing scenarios showed fighting against severe obstacles but the hero uses wisdom, ability, and leadership; receives help from allies, a suggestion from mother or wife as the goddess. He believes in being supported by Tengri God. Finally, the hero overcomes obstacles and brings precious treasure from the adventure which could be the founding of the nation, bringing honor, liberty, peace, and civilization to Mongolian society. 2) The concept of building Genghis Khan's image in the novel represented it differently, depending on the intention of the authors and it related to two topics: 1) Seven images appear in the historical documents that are the hero who conquers Kali Yuga or the dark age, the hero who founds the nation and imperial civilization, the hero who has leadership, the hero who changes the world, the hero of religion, and the savage hero; 2) Seven images that the author created are the image of a happy family, good child of parents, Thammikarath, Robin Hood, gallant hero, democratic hero, and tyrant hero. The ways to build an image are various. The creation of Genghis Khan novels by Thai contemporary novelists comprised five concepts that were the concept of honoring Genghis Khan as the world's influential persons, monarchy concept, patriotism concept, social critical concept, and hero glorification concept.
Keywords
นักเขียนไทยร่วมสมัย, นวนิยายอิงประวัติศาสตร์วีรบุรุษโลกตะวันออก, เจงกิสข่าน, Thai contemporary authors, Historical novel about heroes of the eastern world, Genghis Khan
Citation