ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการตนเองในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน ของกลุ่มชาติพันธุ์ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
Loading...
Date
2022
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดการตนเองในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินของกลุ่มชาติพันธุ์ และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการตนเองในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินของกลุ่มชาติพันธุ์ อ.แม่สาย จ.เชียงราย กลุ่มตัวอย่าง 192 คน ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างเป็นระบบเก็บข้อมูล 1 กุมภาพันธ์ - 28 กุมภาพันธ์ 2565 ในพื้นที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ด้วยสถิติ multiple regression ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการจัดการตนเอง ด้านการรับประทานอาหาร และด้านการรับประทานยา อยู่ในระดับสูง (76.0%, 75.0%) และการจัดการตนเอง ด้านการออกกำลังกาย และด้านการจัดการความเครียด อยู่ในระดับปานกลาง (51.0%, 52.6%) ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการตนเองมี 3 ปัจจัย คือ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการจัดการตนเองต่อโรคเบาหวาน (P <0.001) ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน (P < 0.001) และการรับรู้ประโยชน์ของการจัดการตนเองต่อโรคเบาหวาน (P = 0.001) เขียนเป็นสมการในการทำนายดังนี้ คือ คะแนนการจัดการตนเองต่อโรคเบาหวาน = 45.488 + 0.:703 (การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการจัดการตนเองต่อโรคเบาหวาน) + 0.707 (ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน) + 0.615 (การรับรู้ประโยชน์ของการจัดการตนเองต่อโรคเบาหวาน) ได้ 33.9% (Adj.R2 = 0.339, p < 0.001) ผลการศึกษาที่ได้ควรใช้ในการวางแผนการส่งเสริมพฤติกรรม การจัดการตนเองในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มชาติพันธุ์ โดยเฉพาะการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน การเพิ่มการรับรู้สมรรถะแห่งตน และการรับรู้ประโยชน์ของการจัดการตนเองต่อโรคเบาหวาน เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานต่อไป
Description
This cross sectional descriptive study aimed to study self- management on glycemic control among ethnic non- insulin dependent diabetic patients and identify factors affecting self-management on glycemic control among ethnic non-insulin dependent diabetic patients, Mae Sai District, Chiang Rai Province. 192 participants were selected by using systematic random sampling. Data were collected by questionnaires between February 1, 2022 - February 28, 2022, analyzed by multiple regression. The results revealed that most of them had self-management in eating and taking medicine at high level (76.0%, 75.0%), self - management in exercise and stress at moderate level (51.0%, 52.6%). There were 3 factors affecting self - management included self -efficacy in diabetes self - management (p < 0.001), knowledge of diabetes (p < 0.001) and perceived benefits in diabetes self-management (p = 0.001). The predictive equation was diabetes self - management score = 45.488 + 0.703 (self - efficacy in diabetes self - management) + 0.707 (knowledge of diabetes) + 0.615 (perceived benefits in diabetes self - management). Therefore, service unit should apply the finding to plan for problem solving as increases self - efficacy in diabetes self - management, knowledge of diabetes and perceived benefits in diabetes self - management among ethnic non- insulin dependent diabetic patients.
Keywords
โรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน, กลุ่มชาติพันธุ์, การจัดการตนเอง, Non-insulin Dependent Diabetes, Mellitus Ethnic Groups, Self-Management