การศึกษาปัจจัยและแนวทางการบริหารโรงเรียนผู้สูงอายุของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเชียงราย
Loading...
Date
2019
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารโรงเรียนผู้สูงอายุของศูนย์การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเชียงรายที่ได้เข้าไปสนับสนุนส่งเสริมดูแล และให้ความช่วยเหลือในการจัดกิจกรรม 2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารโรงเรียนผู้สูงอายุร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายในพื้นที่ของศูนย์การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด เชียงรายประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 9 คน ข้าราชการครู จำนวน 8 คน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน จำนวน 24 คน และครูหัวหน้ากศน.ตำบล จำนวน 74 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า การศึกษาปัจจัยการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุของศูนย์การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเชียงรายตามปัจจัยการบริหาร 4Ms ในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการบริหารจัดการมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก รองลงมา ได้แก่ ด้านคนอยู่ในระดับมาก และด้านวัสดุ อุปกรณ์อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านงบประมาณอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ แนวทางการบริหารโรงเรียนผู้สูงอายุร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายในพื้นที่ของศูนย์การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเชียงรายตามปัจจัยการบริหาร 4 Ms ด้านคน ได้แนวทางว่า โดยสถานศึกษามีการส่งเสริม สนับสนุน ดูแล และให้ความช่วยเหลือในการจัดกิจกรรม ได้มีการชี้แจงแนวทางการนำนโยบายระดับสำนักงาน กศน. ให้บุคลากรเข้าใจในแผนการปฏิบัติงานเกี่ยวกับโรงเรียนผู้สูงอายุ มีการมอบหมายให้ครูหัวหน้ากศน. ตำบล และครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียนพื้นที่เข้าไปมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ด้านงบประมาณ ได้แนวทางว่า เนื่องจาก กศน. อำเภอ ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดกิจกรรมโดยตรงสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ จึงใช้การระดมทุนและขอรับการสนับสนุนบประมาณจากภาคีเครือข่าย และจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ที่มาร่วมจัด ด้านวัสดุอุปกรณ์ ได้แนวทางว่า สถานศึกษามีการจัดซื้อจัดหาวัสดุ ตามงบประมาณที่จัดสรรลงสู่ กศน. ตำบล เพื่อวางแผนใช้จ่ายเงินสำหรับจัดกิจกรรมของผู้เรียน ในกลุ่มผู้สูงอายุมีการจัดหาทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น และจากผู้เรียนเตรียมมาเอง ด้านการบริหารจัดการ เป็นการบริหารจัดการร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย
Description
The objective of this Independent study were : 1) to study the factors of the administration of the elderly school of the district non-formal and informal education centers under the Office of Non-Formal and Informal Education, Chiang Rai Province, which has supported, supported and provided assistance in organizing activities 2) to study the guidelines for managing the elderly school together with the network partners in the area of the district non-formal and informal education centers under the Office of Non-Formal and Informal Education, Chiang Rai Province. The sample group consisted of 9 school administrators, 8 civil servants, teachers, 24 non-formal education applicants, and 74 teachers of the district head teachers. Questionnaires and interview forms statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation. And qualitative data analysis the study indicated that the areas with the highest mean value are in the management, followed by the people and the materials, respectively, with the lowest mean, budget. Guidelines for administering the elderly school together with the network partners in the area of the district non-formal and informal education centers under the Office of Non-Formal and Informal Education, Chiang Rai Province according to 4 Ms. Administrative factors In terms of people, the guidelines in which the school has promoted, supported, and provided assistance in organizing activities has clarified the guidelines for the implementation of the Office of the Higher Education Commission's policy for personnel to understand the work plan regarding the elderly school has assigned teachers, head of the district administration office, and non-formal education volunteer teachers to participate in local network partners. The budget can be approached because of the district administration. No budget allocation for direct activities for the elderly. Therefore use fundraising and request support from network partners and from various educational institutions that come together to organize. Materials guidelines that the school has procurement of materials. According to the budget allocated to the Tambon Administrative Organization to plan for spending money for organizing activities for learners in the elderly group. There are resources available locally. And from students preparing themselves Management In the operation of the elderly school Is managed together with the network partners.
Keywords
โรงเรียนผู้สูงอายุ, Elderly School