การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อศึกษารูปแบบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็งปอดในอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
Loading...
Date
2019
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการกระจายตัวเชิงพื้นที่ของผู้ป่วยมะเร็งปอดในอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ที่ได้รับการวินิจฉัยในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2550–2558 จำนวน 966 ราย รวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลทะเบียนมะเร็งระดับประชากร ( Population-Based cancer Registry) ของโรงพยาบาลมะเร็งลำปาง โดยใช้สถิติทางภูมิศาสตร์ Moran’s I และ Local-Moran’s I มาวิเคราะห์ร่วมกับการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อแสดงผลในรูปแบบแผนที่การกระจายตัวของผู้ป่วยมะเร็งปอด และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งในอำเภอเมืองลำปาง เป็นการวิจัยแบบเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง (Case-Control Study) ประกอบด้วยกลุ่มศึกษา (Cases) คือ ผู้ป่วยมะเร็งปอด จำนวน 85 ราย และกลุ่มควบคุม (Controls) คือ ประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้ป่วยเป็นมะเร็งปอด จำนวน 170 ราย ทั้งสองกลุ่มมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน คือ เพศ อายุ (+5 ปี) และอาศัยอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม–มิถุนายน พ.ศ. 2559 ผลการศึกษาพบว่า ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2550–2558 มีผู้ป่วยมะเร็งปอดในอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง รวมทั้งสิ้น 966 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 59 และเพศหญิง ร้อยละ 41 อายุเฉลี่ย 62 ปี โดยเฉลี่ยในรอบ 9 ปีที่ผ่านมาตำบลเวียงเหนือมีอัตราป่วยโรคมะเร็งปอดเฉลี่ยสูงที่สุด เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ พบว่า หมู่บ้านที่มีอัตราป่วยโรคมะเร็งปอดสูงจะปรากฏทางด้านทิศใต้ของอำเภอเมืองลำปาง เมื่อจำแนกระดับอัตราป่วย พบว่า หมู่บ้านมีอัตราป่วยสูงมาก 51 หมู่บ้าน อัตราป่วยสูง 49 หมู่บ้าน อัตราป่วยปานกลาง 51 หมู่บ้าน อัตราป่วยต่ำ 47 หมู่บ้าน และอัตราป่วยต่ำมาก 52 หมู่บ้าน และเมื่อวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยง (hotspot) โรคมะเร็งปอดพบว่า ในพื้นที่ 12 หมู่บ้านของเขตพื้นที่ 6 ตำบลเป็นพื้นที่เสี่ยงโรคมะเร็งปอด ได้แก่ ตำบลบ้านค่า (บ้านค่ากลาง และบ้านต้นฮ่างพัฒนา) ตำบลทุ่งฝาย (บ้านท่าโทกมงคลชัย) ตำบลบ้านเอื้อม (บ้านสบเฟือง บ้านสัก บ้านฮ่อง บ้านผึ้ง และบ้านปง) ตำบลนิคมพัฒนา (บ้านคลองน้ำลัด) ตำบลต้นธงชัย (บ้านต้นธงชัย และบ้านนาป้อใต้) และตำบลพิชัย (บ้านม่อนเขาแก้ว) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็งปอดในอำเภอเมืองลำปาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ประวัติโรคหอบหืด (ORadj = 5.02, 95% CI = 1.45-17.89) การสูบบุหรี่ (ORadj = 4.30, 95% CI = 2.19-8.43) และการสัมผัสสารเคมีทางการเกษตร (สารเคมีกำจัดศัตรูพืช) (ORadj = 3.05, 95% CI = 1.42-6.54) ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรที่จะต้องดำเนินการป้องกัน และควบคุมโรคมะเร็งปอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในระดับเชิงพื้นที่ และให้ความรู้แก่ประชาชนให้ตระหนักถึงการป้องกัน และหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด
Description
This study has two purposes which are; To study the spatial distribution of lung cancer in Mueang Lampang District, Lampang Province. Nine hundred and sixty six cases of lung cancer diagnosed during the years 2007–2015 obtained from population-based cancer registry of Lampang Cancer Hospital. Data analysis was performed using statistical in geography including Moran’I and Local-Moran’s I statistics and application of Geographic Information System (GIS). and To analyze factors which associated with lung cancer. This case-control study consists of two sample groups which are; first, 85 lung cancer cases and second, 170 non-lung cancer cases. These two groups are matched in terms of gender, age (+5 years) and residential area (within the same village). Data was collected by interviewing from May 1st 2016 to June 30th 2016. The results reported 966 lung cancer cases during the year of 2007-2015. Male patients (58.59%) were slightly more than female patients (41.41%). In the past 9 years, the morbidity rate of lung cancer was highest in Wiang Nue Sub-district. The spatial analysis found the dispersion of the spatial distribution of lung cancer patients in Mueang Lampang District was distributed across the study area. Sub-district on the south had higher morbidity rate than the other areas of Mueang Lampang District. The level of morbidity rate showed very high in 51 villages, high in 49 villages, moderate in 51 villages, low in 47 villages and very low in 52 villages. The hotspot analysis showed 12 villages in 6 sub-district were risk areas for lung cancer; Ban Kha Sub-district (Kha Klang and Ton Hang Phat Tha Na Villages), Thung Fuai Sub-district (Thatok Mongkonchai Village), Ban Ueam Sub-district (Sop Fueang, Sak, Hong, Phung and Pong Villages), Nikhom Patthana Sub-district (Khlong Namlad Village), Ton Thong Chai Sub-district (Ton Thong Chai and Na Po Tai Villages) and Pi Chai Sub-district (Mon Kao Kaew Village) Factors which statistically significant associated with lung cancer were history of asthma (ORadj = 5.02, 95% CI = 1.41-17.89), smoking (ORadj = 4.30, 95% CI = 2.19-8.43) and exposure to agricultural chemicals (pesticide) (ORadj = 3.05, 95% CI = 1.42-6.54). This study indicated that responsible organization should act on lung cancer prevention campaign. In addition, they should support an early detection of lung cancer in risk group of population in spatial level and educate them on awareness with avoiding of risk factors which cause lung cancer.
Keywords
มะเร็งปอด, สูบบุหรี่, ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์, Lung Cancer, Smoking, Geographic Information System (GIS)