แนวทางการพัฒนาจังหวัดเลยให้เป็นเมืองท่องเที่ยวเป้าหมาย
Loading...
Date
2022
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพ องค์ประกอบ และการบริหารจัดการของแหล่งท่องเที่ยว ให้จังหวัดเลยเป็นเมืองท่องเที่ยวเป้าหมาย 2) ประเมินพฤติกรรม การตัดสินใจ และทัศนคติที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดของนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดเลย 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดเลยให้เป็นเมืองเป้าหมาย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม การวิจัยเชิงคุณภาพมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูล 4 ภาคส่วน จำนวน 27 คน เครื่องมือวิจัย คือ คำถามสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 400 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐาน ใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบไคสแควร์ และการทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเพียร์สัน กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 ผู้วิจัยนำข้อมูล มาสังเคราะห์ด้วย SWOT Analysis และ TOWS Matrix ผลการวิจัยพบว่า 1) ศักยภาพของการท่องเที่ยวทั้ง 4 ด้าน ด้านวัฒนธรรม มีเอกลักษณ์โดดเด่น ได้แก่ 1) อาหารพื้นบ้าน 2) อาคารเก่า 3) อาภรณ์ 4) โอสถจากน้ำสมุนไพร 5) อารยธรรม ส่วนด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคมดีอยู่แล้ว ในขณะที่ด้านสิ่งแวดล้อมต้องปรับปรุงพัฒนา ข้อมูลวิจัยพบว่า องค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยว (10A) อยู่ในระดับดี 7 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการเข้าถึง 2) ด้านสิ่งดึงดูดใจ 3) ด้านที่พัก 4) ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว 5) ด้านบรรยากาศของแหล่งท่องเที่ยว 6) ด้านความรอบรู้ของเจ้าหน้าที่ และ 7) ด้านความเป็นมิตรของคนในท้องถิ่น ส่วนด้านที่ต้องปรับปรุง 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านมีสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน 2) ด้านบริการเสริม และ 3) ด้านผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยว หลักการบริหารจัดการ 7 ด้านของแมคคินซีย์ ข้อมูลการวิจัยพบว่า จังหวัดเลยมีการจัดการอยู่ในระดับดีทุกด้าน 2) ลักษณะพฤติกรรมนักท่องเที่ยว พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุน้อยกว่า 30 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี สถานภาพโสด ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษา มีรายได้ต่ำกว่า 20,000 บาท วัตถุประสงค์ในการเดินทางเพื่อท่องเที่ยวในเวลา 2-4 วัน ใช้รถยนต์ส่วนตัวในการเดินทาง ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวต่อครั้ง 3,001 - 5,000 บาท และจะกลับมาท่องเที่ยวอีก ความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจของนักท่องเที่ยว พบว่า ความพร้อมของจุดหมายปลายทางในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนทัศนคติที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดทั้ง 7 ประการ อยู่ในระดับมาก 3) ผู้วิจัยนำเสนอแนวทางการพัฒนาจังหวัดเลยให้เป็นเมืองท่องเที่ยวเป้าหมายด้วย โมเดล LOEI DAN ประกอบไปด้วย การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรท่องเที่ยว (L) การพัฒนาองค์กรที่เกี่ยวข้อง (O) การมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย (E) การทำงานแบบบูรณาการไร้ความขัดแย้ง (I) การพัฒนา (D) การมีกิจกรรมการท่องเที่ยวให้มากขึ้น (A) การสร้างเครือข่าย (N)
Description
This research aimed to 1) Study a tourism potential, a composition of tourist attractions (10A) and McKinsey 7S's management in Loei Province. 2) To evaluate Thai tourist demographic that be related to behavior, decision-making and attitude towards marketing mix (7P's). 3) Propose an development approach for Loei Province to become the tourism destination. This research was mix methods research. The qualitative research were conducted with in-depth interview and content analysis from 27 key informants who were representatives from 4 sectors. The quantitative research was collected by 400 questionnaires from Thai tourists. The descriptive data was analyzed by frequency, percentage, mean and standard deviation. Inferential statistics including Chi-square test. In case of significance, Pearson's method of comparison tests was used to test with the 0.5 level of statistical significance. The research data were analyzed with SWOT Analysis and TOWS Matrix to find out a proposed approach. The research results showed 1) Refer to 4 tourism potential factors, the outstanding is the cultural resources of local food, old architecture, traditional dressing, medical herb drink and local ways of life. The economic and social potential are in high level but the environmental management needed to be improved. According to a composition of tourist attractions (10A), there are 7 qualified which are accessibility, attraction, accommodation, activities, atmosphere, authority and amiability while amenities, ancillary and availability are needed to be improved. The research data also indicated that Loei Province has all good score of McKinsey 7s management 2) Majority of sampling group are student , female ,age under 30 years old, single status with bachelor degree whose salary less than 20,000-baht. The behavior of the majority are travelling by private car, 2-4 days trip with the travel expenses 3,001 - 5,000 baht per trip and will do more visit in Loei. The questionnaires data displayed that the readiness of Loei to be tourism destination was in the highest level. Refer to attitude toward the 7P's marketing mix factors had all result in a high level. 3) The researcher propose an approaches to the development of Loei province to become a tourism destination with the LOEI DAN model consisting of Leveraging: L, Organization: O, Engagement: E, Integration: I, Development: D, Activities: A, and Networking: N.
Keywords
แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยว, เมืองท่องเที่ยวเป้าหมาย, จังหวัดเลย, Tourism Development Guidelines, Tourism Destination, Loei Province
Citation
เกริกกิต ชัยรัตน์. (2564). แนวทางการพัฒนาจังหวัดเลยให้เป็นเมืองท่องเที่ยวเป้าหมาย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา]. ฐานข้อมูลคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยพะเยา (UP Digital Collections: UPDC).