แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดนครนายก

Loading...
Thumbnail Image
Date
2022
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว ในการเดินทางมาท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดนครนายก 2) เพื่อศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว ในการเดินทางมาท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดนครนายก 3) เพื่อศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับส่วนประสมทางการตลาด การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดนครนายก 4) เพื่อแสวงหาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดนครนายก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามกับนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่เดินทางมาท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดนครนายก จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป โดยใช้ค่าสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ไค-สแควร์, T-test และ F-test สถิติทดสอบ One-way ANOVA ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยครั้งละคู่ โดยสุ่มตัวอย่างแต่ละชุดเป็นอิสระต่อกันด้วยวิธีของ Fisher (Least Significant Difference, LSD) เพื่อทำการทดสอบสมมติฐาน โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในการเดินทางมาท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดนครนายก พบว่า มีวัตถุประสงค์ในการเดินทางมาท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อน/ท่องเที่ยว เดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว ส่วนใหญ่มีจำนวนผู้ร่วมการเดินทางมาท่องเที่ยวระหว่าง 3-5 คน เดินทางมาท่องเที่ยวในวันเสาร์-วันอาทิตย์ ส่วนใหญ่เดินทางมาท่องเที่ยวมากกว่า 3 ครั้งขึ้นไป มีค่าใช้จ่ายรวมในการเดินทางระหว่าง 1,001-2,000 บาท ส่วนใหญ่ศึกษาข้อมูลในการเดินทางมาท่องเที่ยวจากเพื่อน/คนอื่น ๆ ชื่นชอบในกิจกรรมผจญภัย เดินทางกลับมาเที่ยวซ้ำ มากกว่าครึ่งแนะนำให้บุคคลอื่นมาท่องเที่ยว 2) แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวในภาพรวม นักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นเกี่ยวกับแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวอยู่ในระดับมาก ได้แก่ 1) ด้านสิ่งดึงดูดทางการท่องเที่ยว 2) ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว 3) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว 4) ด้านการบริการเบ็ดเตล็ด 5) ด้านที่พัก 6) ด้านกิจกรรมทางการท่องเที่ยว 3)ส่วนประสมทางการตลาด พบว่า ในภาพรวมนักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาดท่องเที่ยวอยู่ในระดับมาก และ 4) ผู้วิจัยนำเสนอแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดนครนายก ได้แก่ 1) ส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 2) เพิ่มความหลากหลายของกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 3) เพิ่มมาตรการอำนวยความสะดวก สร้างความปลอดภัย 4) บริหารการท่องเที่ยวโดยใช้กลยุทธ์การตลาดเชิงรุก
Description
The objectives of this research were to 1) study demographic factors relating to the behavior of tourists visiting creative tourism in Nakhon Nayok Province, 2) study demographic factors relating to tourists’ motivation for visiting creative tourism in Nakhon Nayok Province, 3) study demographic factors relating to the marketing mix of creative tourism in Nakhon Nayok Province, and 4) acquire guidelines for promoting creative tourism in Nakhon Nayok Province. This quantitative research was conducted using questionnaires to collect data from 400 Thai tourists visiting creative tourist attractions in Nakhon Nayok Province. The statistics used to analyze the data were inferential statistical programs including Chi - Square, T-Test and F-Test or One-way ANOVA. The mean-paired difference of LSD was employed to test the hypothesis with a statically significant difference at 0.05. The results revealed that regarding the travel behavior, the main purpose of most samples was recreation. Most tourists traveled by a private car with passengers of 3-5 companions, on the weekend, have visited there more than three times, with expenses at 1,001-2,000 Baht, studied information from their friends or other people, were satisfied with adventurous activities, their travel was duplicated, and they persuaded other people to visit there. For the overall motivation of the tourists, it was found that the factors were at a high level, including 1) tourist attractions, 2) tourism accessibility, 3) tourism facilities, 4) miscellaneous service, 5) accommodation, and 6) tourism activities. In terms of the marketing mix factors, it showed that the overall opinion towards the tourism marketing mix was at a high level. Based on the result of the study, it’s suggested the guidelines for creative tourism promotion in Nakhon Nayok are that; 1) the operators should promote creative tourist attractions, 2) the diversity of creative tourism activities should be increased, 3) the facility and safety should be supported, 4) aggressive marketing strategies should be employed to manage the tourism.
Keywords
แนวทางการส่งเสริม, การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์, จังหวัดนครนายก, An Approach to the Promotion, Creative Tourism, Nakhon Nayok province
Citation