ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุภายใต้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชน อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย
Loading...
Date
2022
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การวิจัยแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุภายใต้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชน อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุ อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย จำนวน 444 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบไคสแควร์ การทดสอบของพิชเชอร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า การรับรู้ความรุนแรงของโรคติดเชื้อโควิด-19 การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุอยู่ในระดับสูง และปัจจัยที่มีอำนาจทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุภายใต้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนสูงที่สุด คือ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน (ß = 0.303) รองลงมา คือ แรงสนับสนุนทางสังคม (ß = 0.253) และการรับรู้ความรุนแรงของโรค (ß = 0.115 ตามลำดับ ตัวแปรทำนายทั้ง 3 ตัว ร่วมทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุภายใต้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนได้ร้อยละ 35.6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Description
This was a survey using a cross-sectional approach. The purpose was to use a questionnaire to study the factors predicting self-management behavior of the elderly under the epidemic of coronavirus disease -2019 among 444 elderly people in Wiang Chai District, Chiang Rai Province. The data was analyzed using descriptive statistics, chi-square test, fisher's exact test, pearson's product moment correlation coefficient and stepwise multiple regression analysis was used to look for correlation. The results reveal that the perception of the severity of the COVID-19 infectious disease self-efficacy social support and self-management behaviors of the elderly were all a high level and the most powerful factors predicting self-management behavior of the elderly under the epidemic of coronavirus disease-2019 in the community was self-efficacy (ß = 0.303), social support (ß = 0.253) and perception of violence (ß = 0.115) respectively. The three predictors were able to predict self-management of the elderly under the epidemic of coronavirus disease-2019 in the community 35.6 percent were statistically related
Keywords
การรับรู้ความรุนแรง, การรับรู้สมรรถนะแห่งตน, การสนับสนุนทางสังคม, โรคติดเชื้อโควิด-19, ผู้สูงอายุ, Perception of violence, Self-efficacy, Social support, COVID-19, Elderly