การส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์และความฉลาดทางสังคมด้วยกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กระดับปฐมวัย
Loading...
Date
2021
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ด้วยกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กระดับปฐมวัย และเพื่อส่งเสริมความฉลาดทางสังคมด้วยกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กระดับปฐมวัย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลบ้านพระเนตร (แก้วสุวรรณประสิทธิ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 20 คน เป็นกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง (Purposive Sampling) การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กระดับปฐมวัย แบบวัดทักษะทางวิทยาศาสตร์ซึ่งแบบวัดทักษะ มี 6 ชุด แบบประเมินทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กระดับปฐมวัยทั้ง 4 ทักษะ และแบบประเมินความฉลาดทางสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย ทั้ง 3 ด้าน ดำเนินตามการวิจัยกึ่งทดลอง โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบหลังการทดลอง (One-Shot Case Study) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (T - test แบบ One - Sample) ผลการวิจัย พบว่า ทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กระดับปฐมวัยหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กระดับปฐมวัย มีค่าสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 ร้อยละ 93.00 (ค่าเฉลี่ย = 4.65. S.D. = 0.55) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และความฉลาดทางสังคมของเด็กระดับปฐมวัย หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีค่าสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 ร้อยละ 92.50 (ค่าเฉลี่ย = 1.85, S.D. = 0.40) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Description
The objectives of this research were to promote scientific skills through science activities for early childhood and to promote social intelligence through science activities for early childhood. The target group used in the research is a student in Kindergarten Year 2, Ban Phranet Kindergarten School (Kaew Suwanprasit), Chiang Rai Primary Educational Service Area Office, Region 4, Semester 2, Academic Year 2020, totaling 20 people who were a specific target group (Purposive Sampling).science. There were 6 skills assessments, the 4 Science Skills Assessment for preschool children and the Social Intelligence Assessment Form for all 3 Preschool children. According to the experimental research plan, using the single-group experimental model (One-Shot Case Study) the statistical test used to analyze the data were mean, standard deviation (S.D.), t-test (One-Sample t-test). The results showed that 1) Science skills of preschool children after school with science learning activities for preschool children 93.00 % above the threshold (mean = 4.65, S.D. = 0.55) and there was no significant difference statistically at 0.05 level. 2) The social intelligence of preschool children after school with science learning activities was 92.50 % higher than the threshold of 75% (mean = 1.85, S.D. = 0.40) and there was no statistically significant difference at Level 0.05.
Keywords
กิจกรรมวิทยาศาสตร์, ทักษะทางวิทยาศาสตร์, ความฉลาดทางสังคม, Science activity, Scientific skills, Social intelligence