ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสุขาภิบาลอาหารของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เทศบาลตำบลเม็งราย อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย
Loading...
Date
2022
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมสุขาภิบาลอาหารของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมเกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหารของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และ 3) ตัวแปร ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมในการทำนายพฤติกรรมสุขาภิบาลอาหาร ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เทศบาลตำบลเม็งราย อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย จำนวน 169 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติอ้างอิง ได้แก่ สหสัมพันธ์อย่างง่าย (Simple correlation) การทดสอบไคสแควร์ (Chi-square test) และสถิติวิเคราะห์ปัจจัยทำนาย ได้แก่ สถิติถดถอย (Regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 53.30) มีอายุอยู่ระหว่าง 20-40 ปี (ร้อยละ 43.20) สถานภาพสมรสคู่ (ร้อยละ 80.50) ระดับการศึกษาประถมศึกษา (ร้อยละ 38.5) อาชีพเกษตรกรรม (ร้อยละ 75.7) ความถี่ในการประกอบอาหารทุกวัน (ร้อยละ 67.5) รายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท (ร้อยละ 70.4) จำนวนสมาชิกในครัวเรือน 3-5 คน (ร้อยละ 64.5) ผลการศึกษาความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหารอยู่ในระดับต่ำ ทัศนคติเกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหารอยู่ในระดับสูง ปัจจัยเอื้อเกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหารอยู่ในระดับต่ำ ปัจจัยเสริมเกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหารอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยเสริมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขาภิบาล (r = 0.31) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และสามารถร่วมทำนายพฤติกรรมสุขาภิบาลของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เทศบาลตำบลเม็งราย อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย โดยสามารถสร้างสมการทำนาย คือ พฤติกรรมสุขาภิบาลอาหาร = 1.765 + 0.260 (ปัจจัยเสริม) มีความสามารถทำนายได้ร้อยละ 9.4
Description
This research aimed to study 1) food sanitary behavior of village health volunteer, 2) correlation between predisposing factors, enabling factors and reinforcing factors relating to food sanitary behavior of village health volunteer and 3) variable predisposing factors, enabling factors and reinforcing factors for the prediction on food sanitary behavior of village health volunteer. Sample group used in this research was the village health volunteer in Mengrai Municipality, Payamengrai District, Chiang Rai Province about 169 people. The instrument used in this research was questionnaire created by researcher. The statistical methods used for data analysis were mean, percentage, standard deviation and assessment using inference statistics including simple correlation, Chi-square test and statistical analysis for factor prediction including regression analysis. The results showed that the most sample groups were female (53.30%), age in between 20-40 years old (43.20%), marital status / married (80.50%), education at primary school level (38.5%), occupation in agriculture (75.7%), daily cooking frequency (67.5%), income per month less than 5,000 baht (70.4%), family member 3-5 people (64.5%). The studied results of knowledge correlated to the food sanitary found in low level, attitude on the food sanitary presented at high level, enabling factors of the food sanitary showed at low level, reinforcing factors of the food sanitary found at medium level. The reinforcing factors have correlation with the food sanitary behavior (r = 0.31) with statistical significant at 0.05 and able to predict the sanitary behavior of village health volunteer in Mengrai Municipality, Payamengrai District, Chiang Rai Province by created the prediction equation as the food sanitary behavior = 1.765 + 0.260 (reinforcing factors) with the ability of prediction at 9.4%.
Keywords
สุขาภิบาลอาหาร, พฤติกรรมสุขาภิบาลอาหาร, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, Sanitation Behavior, The Village Health Volunteer