ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเหงือกอักเสบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลดอยหลวง อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย
Loading...
Date
2018
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มทดสอบก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาต่อพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคเหงือกอักเสบ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มอย่างง่าย ในนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 ได้จำนวนนักเรียนทั้งหมด 78 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลอง 39 คน และกลุ่มควบคุม 39 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมทันตสุขภาพ ที่ประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเอง ระยะเวลา 8 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และแบบบันทึกคราบจุลินทรีย์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่าง ของค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติ Paired T-test และ Independent T-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ย ด้านความรู้ทันตสุขภาพ การรับรู้ความสามารถตนเองในการป้องกันโรคเหงือกอักเสบ ความคาดหวังในการปฏิบัติตนของการป้องกันโรคเหงือกอักเสบ ดีกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และพบว่า แผ่นคราบจุลินทรีย์ในกลุ่มทดลองลดลงกว่าก่อนทดลอง และลดลงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 จากโปรแกรมทันตสุขภาพ โดยประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเอง ทำให้นักเรียนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันโรคเหงือกอักเสบ ทั้งด้านการรับรู้ความสามารถตนเองความคาดหวัง ผลดีของการป้องกันโรคเหงือกอักเสบ และค่าของแผ่นคราบจุลินทรีย์ที่ดีขึ้น
Description
This study is a quasi-experimental study using two groups: pretest and posttest design. The objective was to study the effect of dental health program to gingivitis prevention behavior among sixth grade in Doiluang Hospital, Doiluang District, Chaingrai Province. The study group comprised 78 students. The sample size were selected by sample random sampling into 2 groups. The 39 students were assigned into the experimental group and 39 students were comparison group. The experimental group received both self efficacy application in order to develop the gingivitis preventive behavior. The total duration of program was 8 weeks. Data were collected two times, it is to say before and after the intervention, using questionnaire and plaque index records. Data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, paired t-test, and independent t-test. Significantly level at 0.05 Results showed that, The experimental group had significantly better perceived self-efficacy, outcome expectation, preventive practice than before and that of the comparison group 0.05. Their average plaque index was also significantly decreased 0.05 after participated in the dental health promotion program.
Keywords
โปรแกรมทันตสุขศึกษา, โรคเหงือกอักเสบ, เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6, Dental Health Education Program, Gingivitis disease, School Children among sixth grade