ผลของพฤติกรรมไม่ปลอดภัยในการใช้สารเคมีเกษตรของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดที่มีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
No Thumbnail Available
Date
2017
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
ผลของพฤติกรรมไม่ปลอดภัยในการใช้สารเคมีเกษตรของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดที่มีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ชุมชนบ้านโช้ ตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ทำการวิจัยกึ่งการทดลอง โดยมีกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด 145 คน ผลการศึกษาโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบมีโครงสร้าง พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (67.58%) ช่วงอายุเฉลี่ย 50-59 ปี ปลูกข้าวโพดปีละ 3 รอบ ผลผลิตเฉลี่ย 300-6000 กิโลกรัมต่อไร่ ได้ปัจจัยการผลิตจากพ่อค้าคนกลาง สารเคมีเกษตรที่ใช้ ได้แก่ ปุ๋ย 46-6-6 (66.90%) สารควบคุมโรคพืชออติวา (48.28%) สารควบคุมแมลงไซเปอร์เมทริน 10% (72.76%) สารกำจัดวัชพืชด้วยกรัมม็อกโซน (47.59%) และไกลโฟเซต (35.17%) ซึ่งทั้งสองชนิดนี้ถูกห้ามใช้ใน 32 ประเทศ เนื่องจากมีการตกค้างยาวนานในสิ่งแวดล้อม เป็นสารก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ก่อมะเร็ง และเป็นพิษต่อการสืบพันธุ์ พฤติกรรมไม่ปลอดภัยของเกษตรกร คือ ไม่สวมใส่ชุดและอุปกรณ์ป้องกันสารเคมี (85.72%) สูบบุหรี่ขณะใช้สารเคมีเกษตร (23.36%) ล้างภาชนะอุปกรณ์ที่ปนเปื้อนสารเคมีเกษตรลงในแหล่งน้ำสาธารณะ (33.87%) อาการที่พบหลังรับสัมผัสสารเคมีเกษตรส่วนใหญ่ปวดศีรษะ (94.48%) สำหรับอาการกึ่งเรื้อรังที่พบในระบบทางเดินหายใจ ผิวหนัง ระบบอาหาร ได้แก่ หายใจติดขัด (14.48%) ผืนแพ้ (21.38%) และอาเจียน (13%) ผลการทดสอบสารเคมีเกษตรตกค้างในดิน น้ำ และพืช ด้วย GT-Test kit พบว่า บริเวณต้นน้ำห้วยน้ำโช้มีสารเคมีเกษตรตกค้างในดิน น้ำ และพืชในระดับที่ไม่ปลอดภัย บริเวณต้นน้ำห้วยน้ำขาว และกลางน้ำห้วยน้ำขาว พบสารเคมีตกค้างในดินและพืชในระดับที่ไม่ปลอดภัย ผลการศึกษาได้นำมาจัดทำแผนที่เสี่ยงภัยสารเคมีเกษตรในชุมชนและเสนอแนวทางเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีเกษตรของเกษตรกรเพื่อลดการปนเปื้อนสู่ร่างกายและสิ่งแวดล้อมต่อไป
Description
The result of unsafe acts of the corn former in the use of agrochemicals on health and environment; case study in Ban So Community. Mae Na Rue, Muang, Phayao. The Quasi experiment research was conducted by using 145 corn farmers as sample size. The result from depth interviews and structured interviews revealed that most of corn farmers were male with the age ranking between 50-59 years old. Corns were planted for 3 times/year, the average yields were approximately 300-600 Kg/rai. The agent man was the main supplier of corn inputs for example seeds, fertilizers and agrochemicals. Com
farmer in Ban So Community investigated 46-6-6 fertilizers for 66.90%, Ortica as fungicide for 48.28%, 10% Cypermethrin as insecticide for 72.76%, Gramoxone as narrow-leaved herbicide for 47.59% and Glyphosate as absorbed herbicide for 35.17%. Both of herbicides were banned in 32 countries, since the residues of them were very persistence in the environment and also classified as carcinogen, mutagen and toxic to reproductive parts. The most unsafe acts of corn farmers during apply agrochemical in them farm was careless on Personal Protection Equipment (PPE) (85.72%), smoking while
spraying agrochemicals (23.36%) washing utensils and equipment contaminated with agrochemicals in the public stream (33.87%). The mainly symptoms offer exposure to agrochemicals were headache (94.48%), for sub-chronic symptoms in which that related to the respiratory system, skin allergy, gastro system was shortness of breath (14.48%) skin rash (21.38%) and vomit (13%), respectively. The Agrochemical residues testing in soils, waters and plants were investigated by GT-test kit, the results indicated that the upstream of Huay So found unsafe level of agrochemical residues in soils, waters and plants, whereas the upstream of Huay Num Khow found unsafe level of agrochemical residues in waters and plants. The results of this study were suggested and community risk mapping for changing unsafe acts in agrochemical uses which lead to reduce the agrochemical residue in human health and environment
Keywords
พฤติกรรมไม่ปลอดภัย, สารเคมีเกษตร, เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด, แผนที่เสี่ยงภัยสารเคมีทางการเกษตรในชุมชน, Unsafe Acts, Agrochemicals, Corn Farmers, Agrochemicals Community Risk Mapping
Citation
กัญญาวีร์ มีแสง. (2560). ผลของพฤติกรรมไม่ปลอดภัยในการใช้สารเคมีเกษตรของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดที่มีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม. [ปริญญานิพนธ์บัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา]. ฐานข้อมูลคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยพะเยา (UP Digital Collections: UPDC).