การคัดแยกแบคทีเรียละลายโพแทสเซียมจากดินบริเวณรากพืช

No Thumbnail Available
Date
2018
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
แบคทีเรียละลายโพแทสเซียม (Potassium solubilizing bacteria: KSB) เป็นแบคทีเรียที่พบบริเวณรากพืช มีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนโพแทสเซียมรูปที่ไม่ละลายเป็นรูปที่พืชนำไปใช้ได้ (K+) ช่วยส่งเสริมให้พืชดูดซึมโพแทสเซียมได้ดีขึ้น การวิจัยครั้งนี้จึงคัดแยกแบคทีเรียละลายโพแทสเซียมจากดินบริเวณรากพืช (rhizophere) จากพืช 6 ชนิด ได้แก่ ข้าว ผักบุ้ง งาขี้ม้อน ข้าวโพด มันสำปะหลัง และสาบเสือ โดยวิธี spread plate บนอาหารแข็ง Modified Aleksandrove medium ที่เติมแร่เฟลด์สปาร์เป็นส่วนประกอบ บ่มที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 7 วัน สามารถคัดแยกแบคทีเรียละลายโพแทสเซียมซึ่งสามารถสร้างบริเวณใสรอบโคโลนีได้ทั้งหมด 28 ไอโซเลท นำแบคทีเรียทั้ง 28 ไอโซเลทและแบคทีเรียละลายฟอสเฟตจากหน่วยเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 16 ไอโซเลท มาทดสอบประสิทธิภาพการละลายโพแทสเซียมบนอาหารแข็ง ด้วยวิธี spot plate จากนั้นคัดเลือกแบคทีเรีย จำนวน 8 ไอโซเลท ที่ให้ค่าสัดส่วนเส้นผ่านศูนย์กลางของบริเวณใสต่อเส้นผ่านศูนย์กลางโคโลนีสูง (3.50-7.0 เท่า) มาประเมินประสิทธิภาพการละลายโพแทสเซียมในอาหารเหลวด้วยเทคนิค flame atomic absorption spectrophotometry (FAAS) พบว่า ไอโซเลท KC7 ให้ค่าการละลายโพแทสเซียมสูงที่สุดที่ 2.63 มิลลิกรัมต่อลิตร รองลงมา คือ ไอโซเลท KC1 ให้ค่าการละลายโพแทสเซียมที่ 2.43 มิลลิกรัมต่อลิตร นอกจากนี้ได้จำแนกชนิดของแบคทีเรียโดยใช้ลำดับเบสของยีน 16s rDNA พบว่า KC7 และ KC1 คือ แบคทีเรีย Burkholderia gladioli และ Burkholderia cepacia ตามลำดับ
Description
The potassium solubilizing bacteria (KSB) are a rhizospheric bacterial which play a role in convert available insoluble form into soluble form that plant can access (K+). These bacteria could improve the plant absorption of potassium. KSB was isolate from rhizopheric soil of 6 plant species; rice, morning glory, perilla, maize, cassava and Siam weed by spread plate method on Modified Aleksandrov solid medium supplemented with feldspar and incubated at 30oC for 7 days. Twenty-eight isolates which produced clear zone were collected. All 28 isolates and 16 isolates of phosphate-solubilizing bacteria from Biotechnology Unit, University of Phayao were examined for their potassium solubilizing efficiency by spot plate method. Then, eight isolates which exhibited high ratio of diameter of clear zone and colony (3.50-7.0 X) were chosen for further evaluate the K solubilization ability using FAAS technique. The result showed that KC7 showed highest potassium solubilization ability at 2.63 mg/L followed by KC1 which showed potassium solubilization ability at 2.43 mg/L. Moreover, the 16s rDNA gene sequence analysis found that KC7 and KC1 were closely related to Burkholderia gladioli and Burkholderia cepacia respectively.
Keywords
แบคทีเรียละลายโพแทสเซียม, บริเวณรากพืช, โพแทสเซียม, Burkholderia gladioli, potassium-solubilizing bacteria, rhizospheric soil, potassium
Citation
พรชิตา จะชาญ. (2561). การคัดแยกแบคทีเรียละลายโพแทสเซียมจากดินบริเวณรากพืช. [ปริญญานิพนธ์ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา.