ความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชและคุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำน้ำจุน ในฤดูร้อน ปี 2561

Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของแพลงก์ตอนพืช และคุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำน้ำจุนในฤดูร้อน ปี 2561 ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม โดยทำการเก็บตัวอย่างน้ำใน 4 สถานี จากการศึกษาพบแพลงก์ตอนพืชทั้งหมด 6 Divisions 31 Genera 32 Species โดยพบแพลงก์ตอนพืชชนิดเด่น คือ Cylindrospermopsis raciborskii มีความหนาแน่นเฉลี่ยตลอดช่วงที่ทำการศึกษา คิดเป็นร้อยละ 49.51 ของจำนวนแพลงก์ตอนพืชทั้งหมด จากการหาความสัมพันธ์ระหว่างความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชและคุณภาพน้ำ โดยใช้โปรแกรมสถิติ Multivariated Statistical Package (MVSP) โดย correspondence analysis (CCA) พบความสัมพันธ์ 2 กลุ่ม ดังนี้ 1) Ankistrodesmus spiralis, Aphanocapsa holsatica, Ceratium hirundinella และ Elakatothrix viridis มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความลึกที่แสงส่องถึง ฟอสฟอรัสรวม ปริมาณไนโตรเจนที่อยู่ในรูปของสารอนินทรีย์ ไนไตรท และไนโตรเจนรวม 2) Euglena splendens มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความขุ่น ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ ปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ ความเป็นกรดและด่าง แอมโมเนีย และ TKN แต่มีความสัมพันธ์เชิงลบกับปัจจัยคุณภาพน้ำ และแพลงก์ตอนพืชในความสัมพันธ์กลุ่มที่ 1 จากการประเมินคุณภาพน้ำโดยวิธี AARL – PP Score พบว่า คุณภาพน้ำในทุกสถานีจัดอยู่ในระดับ Meso-Eutrophic สารอาหารปานกลางถึงสูง คุณภาพน้ำปานกลางถึงไม่ดี และจากการประเมินคุณภาพน้ำโดยวิธี AARL – PC Score พบว่า สถานี 2 คุณภาพน้ำดี ส่วนสถานี 1, 3และ 4 คุณภาพน้ำดีปานกลาง สารอาหารน้อยถึงปานกลาง ส่วนดัชนีคุณภาพน้ำ (Water Quality Index : WQI) ในแหล่งน้ำผิวดิน พบว่า สถานีที่ 1 จัดอยู่ในแหล่งน้ำผิวดิน ประเภทที่ 2 คุณภาพน้ำดี และสถานีที่ 2 ถึง สถานี 4 จัดอยู่ในแหล่งน้ำผิวดิน ประเภทที่ 3 คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์พอใช้ ดังนั้นน้ำในอ่างเก็บน้ำน้ำจุน จึงสามารถนำไปใช้เพื่อการอุปโภค และบริโภคได้โดยผ่านกระบวนการบำบัดตามมาตรฐานการผลิตน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคก่อนแต่อย่างไรก็ตาม ควรมีการตรวจติดตามและเฝ้าระวังการเพิ่มจำนวนของ Cylindrospermopsis raciborskii ซึ่งมีความสามารถในการสร้างสารพิษ cylindrospermopsins และอาจปนเปื้อนในน้ำและสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำได้
Description
This study aims to study the relationship between biodiversity of Phytoplankton and chemical water quality with water quality in summer 2018 (March to May) at Nam Chun Reservoir, Phayao. Collecting water samples from 4 stations in each month has done. We found all phytoplankton classified into 6 Divisions 31 Genera 32 Species, Cylindrospermopsis raciborskii are generally dominant species in Nam Chun Reservoir, presenting as 49.51 percent in average during study period. We found two groups of Phytoplankton relate with physical and chemical water quality parameters which were Group 1: Ankistrodesmus spiralis, Aphanocapsa holsatica, Ceratium hirundinella and Elakatothrix viridis had positive relations with Secchi depth, total Phosphorus, Inorganic nitrogen, Nitrite and total Nitrogen., Group 2: Euglena splendens had positive relations with turbidity, DO, BOD, pH, Ammonia and TKN but it had negative relations with Phytoplankton group 1. Based on the water quality assessment by AARL-PP Score, it was found that water quality at all stations were Meso- Eutrophic status; moderate to high nutrients and moderate to not good water quality. Water quality was assessed by AARL-PC Score, it was found that water quality was good at station 2 but station 1, 3 and 4 were moderate quality, Low to moderate nutrient. Water quality index (WQI) in surface water sources was found that the first station was classified as surface water source type 2 that good water quality and station 2 to 4 was classified as surface water quality type 3 that water quality was fair. So that, we can use the water in Nam Chun Reservoir for consumption as the water quality improvement for water supple. However, it needs to be monitored the number of Cylindrospermopsis raciborskii which can produce cylindrospermopsins contaminated in water and aquatic animals.
Keywords
แพลงก์ตอนพืช, อ่างเก็บน้ำน้ำจุน, คุณภาพน้ำ, Phytoplankton, Nam Chun reservoir, Water quality
Citation
ชมพูนุช พูนจะโปะ และนภัสสร จันเสนา. ความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชและคุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำน้ำจุน ในฤดูร้อน ปี 2561. [ปริญญานิพนธ์ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา.