การศึกษาความเป็นพิษต่อเซลล์และความเป็นพิษต่อสารพันธุกรรมของสารสกัดใบละหุ่งด้วยวิธี Allium test

Abstract
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบผลของสารสกัดจากใบละหุ่งด้วยเอทานอลต่อความเป็นพิษต่อเซลล์และสารพันธุกรรม โดยวิธี Allium test ทำการทดสอบการอัตราการเจริญของรากหอมโดยใช้สารสกัดความเข้มข้น 0.25 กรัมต่อลิตร, 0.5 กรัมต่อลิตร, 1 กรัมต่อลิตร และ 2 กรัมต่อลิตร หลังจากนั้นทำการทดสอบผลของสารสกัดต่อความเป็นพิษต่อเซลล์และสารพันธุกรรม โดยใช้สารสกัดความเข้มข้น 0.25 กรัมต่อลิตร, 0.3 กรัมต่อลิตร, 0.4 กรัมต่อลิตร และ 0.5 กรัมต่อลิตร โดยวิธี Allium test ผลของอัตราการเจริญของรากหอมทำให้เห็นว่าสารสกัดจากใบละหุ่งทำให้มีการเจริญของรากลดลงอยู่ระหว่าง 28.57 ถึง 67.09% โดยความเข้มข้นทั้งหมดของสารสกัดจากใบละหุ่งที่ทดลอง พบว่า มีค่าเปอร์เซ็นต์ดัชนีการแบ่งเซลล์ ไม่แตกต่างกัน (11.26 ± 1.28 ถึง 13.01 ± 4.31) เมื่อเทียบกับ Negative control ในการศึกษาความเป็นพิษต่อสารพันธุกรรม พบว่า มีค่าเปอร์เซ็นความผิดปกติของโครโมโซมอยู่ระหว่าง 1.77 ± 1.45 ถึง 4.29 ± 0.62 และที่สารสกัดจากใบละหุ่งความเข้มข้น 5 กรัมต่อลิตร (%CA = 4.29 ± 0.62) มีความผิดปกติของโครโมโซมที่พบหลายชนิด เช่น Stickiness, C–mitosis, Chromosome lose, Chromosome bridge และ Laggard chromosome ดังนั้น สารสกัดของใบละหุ่งด้วยเอทานอล มีผลทำให้เกิดความเป็นพิษต่อสารพันธุกรรมในรากหอมแต่ไม่ส่งผลต่อความเป็นพิษต่อเซลล์
Description
The objective of this study aimed to determine the cytotoxicity and genotoxicity effects of the Ricinus communis leaf extract with ethanol by Allium test. The rate of root growth was tested with 0.25, 0.5, 1 and 2 g/L of leaf extract. Then the cytotoxicity and genotoxicity effect were determined. After treatment with 0.2, 0.3, 0.4 and 0.5 g/L of leaf extract by Allium test. The rate of root growth showed that the leaf extract decreased the root growth as 28.57 to 67.09 %. All the concentrations of Ricinus communis leaf extract had the same mitotic index (11.26 ± 1.28 to 13.01 ± 4.31) compared with negative control. In the study of genotoxicity, there was the percentage of chromosome aberration between 1.77 ± 1.45 to 4.29 ± 0.62. The leaf extract at 5 g/L (% CA = 4.29 ± 0.62) caused various chromosome aberration types, including micronucleus, sticky metaphase, C–mitosis, Anaphase bridge and Anaphase break. Therefore, the Ricinus communis leaf extract with ethanol exhibited the genotoxicity but did not show to the cytotoxicity in Allium root.
Keywords
ละหุ่ง, ความเป็นพิษต่อเซลล์, ความเป็นพิษต่อสารพันธุกรรม, สารสกัดใบละหุ่ง, Ricinus communis, Cytotoxicity, Genotoxicity, Ricinus communis leaf extract
Citation
จักรกฤษณ์ ดีมั่น, บุษยมาศ สุทา และศศิธร อิ่มเพ็ง. (2561). การศึกษาความเป็นพิษต่อเซลล์และความเป็นพิษต่อสารพันธุกรรมของสารสกัดใบละหุ่งด้วยวิธี Allium test. [ปริญญานิพนธ์ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา.