Research

Permanent URI for this collection

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 3 of 3
  • Item
    ความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการปรับหลักสูตรทันตแพทยศาสตรมหาบัณฑิต คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
    (มหาวิทยาลัยพะเยา, 2021) สุธาสินี หินแก้ว
    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดเห็นของบัณฑิต อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาเกี่ยวกับความเหมาะสมของหลักสูตร และความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิตเกี่ยวกับผลลัพธ์การเรียนรู้ของบัณฑิต หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2556 คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ประจำปีการศึกษา 2562 โดยศึกษาจากแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก และนำข้อมูลมาวิเคราะห์จากบัณฑิต จำนวน 25 ชุด อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา จำนวน 13 ชุด และผู้ใช้บัณฑิต จำนวน 18 ชุด และจากการศึกษาวิจัย พบว่า วัตถุประสงค์และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรมีความเข้าใจง่าย และตรงกับจุดมุ่งหมายที่นิสิตต้องการ และสอดคล้องกับรายวิชาที่ทำการเรียนการสอนในหลักสูตร โครงสร้างของหลักสูตรมีจำนวนหน่วยกิตที่มีความหมาะสม เนื้อหารายวิชาในกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน ชีววิทยาช่องปาก ทันตกรรมบดเคี้ยว ทันตกรรมประดิษฐ์ วิทยาเอ็นโดดอนต์ ทันตกรรมชุมชนและทันตกรรมสาธารณสุขมีความเหมาะสม สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและการทำงานได้ ส่วนเนื้อหาวิชาศึกษาทั่วไป ศัลยศาสตร์ช่องปาก ทันตกรรมจัดฟัน วิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปาก ทันตกรรมหัตถการ ปริทันตวิทยา และทันตกรรมสำหรับเด็ก มีระดับความเหมาะสมระดับปานกลาง การบริหารจัดการหลักสูตร พบว่า ควรเน้นการเรียนการสอนโดยอาจารย์ประจำ กรณีมีความจำเป็นต้องดำเนินการสอน โดยอาจารย์พิเศษควรบูรณการเนื้อหารายวิชาร่วมกัน และควรจัดหาแหล่งข้อมูล แหล่งประชาสัมพันธ์ด้านวิชาการและวิชาชีพ อาจารย์หรือเจ้าหน้าที่เพื่อให้คำปรึกษาด้านการเรียนการสอน จัดหากิจกรรมส่งเสริมหลักสูตร ห้องสมุด ห้องเรียน ที่พักผ่อน ที่ทำงานให้แก่นิสิตเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอน และสนับสนุนรางวัลทุนการศึกษาให้แก่นิสิต ด้านผลการเรียนรู้ของบัณฑิต พบว่า หลักสูตรมีการเรียนการสอน ที่ครอบคลุมผลการเรียนรู้ และสามารถผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถสอดคล้องกับความคาดหวังของหน่วยงาน และมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์เป็นอย่างดี และมีความโดดเด่นในด้านคุณธรรมจริยธรรม ยึดถือผู้ป่วยเป็นหลัก ตลอดทั้งปฏิบัติตามระเบียบและข้อกำหนดของหน่วยงาน หากเสริมทักษะความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (HA) และการทำงานร่วมกับทีมสหวิชาชีพเพื่อการทำงานแบบผสมผสานก็จะช่วยส่งเสริม และเพิ่มพูนความรู้ความสามารถแก่บัณฑิตและยังประโยชน์ต่อหน่วยงานผู้ใช้บัณฑิตต่อไป
  • Item
    ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย มหาวิทยาลัยพะเยา
    (มหาวิทยาลัยพะเยา, 2015) เทวา หมื่นจันทร์
    การศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยมหาวิทยาลัยพะเยา มีวัตถุประสงค์ เพื่อทราบถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติงานของการรักษาความปลอดภัยในมหาวิทยาลัยพะเยา และเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการรักษาความปลอดภัยในมหาวิทยาลัยพะเยา ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทั้งหมด จำนวน 132 คน และเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่า เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในมหาวิทยาลัยพะเยาเป็น เพศชาย คิดเป็นร้อยละ 90.91 ช่วงอายุระหว่าง 30-39 ปี คิดเป็นร้อยละ 33.33 อยู่ในสถานภาพสมรส ร้อยละ 49.24 มีภูมิลำเนาอยู่ในอำเภอเมืองพะเยา ร้อยละ 62.88 ระดับวุฒิการศึกษา ม.6 หรือเทียบเท่าคิดเป็นร้อยละ 43.94 ได้รับค่าตอบแทนประมาณ 10,000 - 14,999 บาท ต่อหนึ่งเดือนร้อยละ 50.76 มีประสบการณ์การทำงาน 0 - 10 ปี ร้อยละ 84.09 การประเมินด้านสภาพการปฏิบัติงานแบ่งออกเป็น 6 ด้าน ด้านที่ได้คะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงาน มีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 4.26 และด้านสภาพการปฏิบัติงาน และความรับผิดชอบในหน้าที่ปกติ ได้คะแนนเฉลี่ยต่ำสุด คือ 3.88 การประเมินระดับของการปฏิบัติงานรักษาความปลอดภัยความคิดเห็นเฉลี่ยรวม 4.22 อยู่ในระดับมากที่สุด หากดูแต่ละข้อย่อย พบว่า ความคิดเห็นต่อการเห็นสิ่งผิดปกติขณะปฏิบัติหน้าที่เวรยาม จะรีบประสานผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องในทันทีมีคะแนนสูงสุด คือ 4.61 และพบว่า ความคิดเห็นต่อพื้นที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เวรยามนั้น มีแสงสว่างเพียงพอต่อการปฏิบัติงานมีความคิดเห็นต่ำสุด คือ 3.78
  • Item
    แนวทางการจัดการระบบการจราจรเพื่อป้องกันอุบัติเหตุด้านการจราจรในมหาวิทยาลัยพะเยา
    (มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) เทวา หมื่นจันทร์
    การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ศึกษาถึงสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุทางจราจร ในมหาวิทยาลัยพะเยา เพื่อหาแนวทางการพัฒนาระบบจราจรในมหาวิทยาลัยพะเยาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการเกิดอุบัติเหตุทางด้านการจราจร ในมหาวิทยาลัยพะเยา ในปีงบประมาณ 2559-2560 เกิดขึ้นทั้งหมด 43 ครั้ง เกิดขึ้นในปีงบประมาณ 2559 จำนวน 25 ครั้ง และปีงบประมาณ 2560 จำนวน 18 ครั้ง แยกเป็นเพศชาย 41 คน เพศหญิง 14 คน เป็นรถยนต์ส่วนบุคคล จำนวน 48 คัน และรถอื่น เช่น รถตู้ รถเมล์โดยสาร รถบรรทุก ฯลฯ จำนวน 13 คัน สาเหตุที่เกิดอุบัติเหตุเกิดจากผู้ขับขี่เอง เช่น ชนโดยไม่มีคู่กรณี ตกลงข้างทาง ชนคันอื่นที่จอดอยู่ ฯลฯ 29 ครั้ง เกิดขึ้นโดยมีคู่กรณี คือ ต่างคนต่างขับ เบียดกัน ชนกัน ฯลฯ 11 ครั้ง และสุดท้ายเกิดจากความบกพร่องของรถยนต์ที่ขับขี่ 3 ครั้ง เมื่อเปรียบเทียบการเกิดอุบัติเหตุทางการจราจรในปีงบประมาณ 2559 และปีงบประมาณ 2560 เห็นว่ามีแนวโน้มลดลงทั้งสามกรณี จุดที่มีอุบัติเหตุเกิดมากที่สุด คือ ทางสายหลักเนื่องจากมีการใช้ความเร็วในการขับขี่สูง อีกทั้งสภาพภูมิประเทศเป็นทางขึ้นเขาลงเขา ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย จากการศึกษา พบว่า อุบัติเหตุในมหาวิทยาลัยพะเยานั้นเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย ปัจจัยหลัก คือ ความประมาทของผู้ขับขี่เอง และรองลงมา คือ เกิดจากความบกพร่องของรถยนต์ หรือยานพาหนะ โดยมีสภาพแวดล้อมเป็นตัวช่วยส่งเสริมให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายขึ้น ดังนั้นในการจัดระบบการจราจรเพื่อป้องกันอุบัติเหตุด้านการจราจรในมหาวิทยาลัยพะเยา สิ่งที่ควรพิจารณา คือ ผู้ขับขี่ (Driver) รถยนต์ (Vehicle) สภาวะแวดล้อม (Environmental) ตามลำดับ ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ครั้งนี้ เป็นข้อมูลปีงบประมาณ 2559-2560 ซึ่งมีการเก็บข้อมูลโดยกองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยพะเยา แต่สภาพการจราจรยอมมีการเปลี่ยนแปลงทุก ๆ ปีด้วยเหตุนี้หากต้องการพัฒนาระบบจราจรในมหาวิทยาลัยพะเยาแต่ละครั้ง ควรมีการเก็บข้อมูลให้เป็นปัจจุบันมากที่สุด เพื่อมีแนวทางการจัดการระบบการจราจรในมหาวิทยาลัยพะเยาที่เหมาะสมต่อไป