ภาคนิพนธ์นิสิตระดับปริญญาตรี (Term Paper of Undergraduate Students)
Permanent URI for this community
Browse
Browsing ภาคนิพนธ์นิสิตระดับปริญญาตรี (Term Paper of Undergraduate Students) by Subject "Capacitively coupled contactless conductivity detection (C4D)"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการศึกษาทดลองเทคนิคโฟโตลิโธกราฟีและซอฟต์ลิโธกราฟีสำหรับการประดิษฐ์อุปกรณ์ของไหลจุลภาค(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) รุ่งทิวา ร้องขันแก้ว; สุดารัตน์ สุขบรรจงในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ ออกแบบ ประดิษฐ์และพัฒนาระบบชิปของไหลจุลภาค และระบบตรวจวัด โดยใช้เทคนิคโฟโตลิโธกราฟี สำหรับประดิษฐ์แม่แบบชิปของไหลจุลภาคด้วยฟิล์มที่ไวแสงด้วยการฉายแสงอัลตราไวโลเลตผ่านหน้ากากนาน 10 นาที และคัดลอกสำเนาจากแม่แบบด้วยเทคนิคซอฟต์ลิโธกราฟีโดยใช้พอลิเมอร์ชนิด PDMS กระบวนในการประดิษฐ์ชิปทั้งหมดใช้เวลา 30 นาที ในงานวิจัยนี้พบว่า ขนาดท่อที่เล็กที่สุดที่สามารถประดิษฐ์ได้เท่ากับ 30 ไมโครเมตร สำหรับระบบตรวจวัดในชิปของไหล งานวิจัยนี้เลือกใช้วิธีวัดค่าความจุไฟฟ้าแบบไม่สัมผัส โดยใช้ไอซีเบอร์ AD7746 ซึ่งมีค่าความแม่นยำในการวัดความจุไฟฟ้า 4 เฟมโตฟารัด และวัดได้ในช่วง ±4 พิโคฟารัด สำหรับขั้วไฟฟ้าซึ่งประกอบด้วยขั้วกระตุ้นและขั้วรับสัญญาณวางขนานกัน ประดิษฐ์จากลวดทองแดงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 47 ไมโครเมตร ผู้วิจัยได้ประดิษฐ์ชิปที่ผลิตหยดของเหลวขนาดเล็กที่มีปริมาตรในระดับนาโนลิตร โดยสร้างหยดน้ำผสมสีในสายการไหลของน้ำมัน พบว่า ระบบตรวจวัดสามารถแยกสัญญาณระหว่างน้ำผสมสีกับน้ำมันได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังสามารถวัดค่าความเข้มข้นของสารละลายน้ำเกลือภายในท่อการไหลจุลภาคได้ในช่วงความเข้มข้น 0.43 ถึง 5.60 โมลาร์ วิธีการประดิษฐ์ชิปของไหลจุลภาคและระบบการวัดค่าความจุไฟฟ้าแบบไม่สัมผัสได้ถูกทดสอบและสาธิตการใช้งานเป็นที่น่าพึงพอใจเหมาะแก่การพัฒนางานวิจัยด้านของไหลจุลภาคสำหรับมหาวิทยาลัยพะเยาต่อไป