ภาคนิพนธ์นิสิตระดับปริญญาตรี (Term Paper of Undergraduate Students)
Permanent URI for this community
Browse
Browsing ภาคนิพนธ์นิสิตระดับปริญญาตรี (Term Paper of Undergraduate Students) by Author "จันทร์จิรา เทียนทอง"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemผลของไคโทซานปุ๋ยอินทรีย์น้ำและน้ำจากน้ำพุร้อนต่อการเจริญเติบโตและค่าสรีรวิทยาบางประการในข้าวก่ำเมืองพะเยาที่ปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) จันทร์จิรา เทียนทอง; ณัฏฐ์นรี ศิริระพรจากการศึกษาภาวะเครียดจากการขาดธาตุอาหารของต้นกล้าข้าวก่ำเมืองพะเยาโดยใช้ระบบปลูกพืชแบบไฮโดรโพนิกส์ที่มีสารละลาย Hoagland เสริมไคโทซาน O80 (1ml/L) และเสริมปุ๋ยอินทรีย์น้ำ (2.5ml/L) พบว่า ค่าการเติบโตและค่าทางสรีรวิทยาของชุดทดลองที่ขาดธาตุอาหารมีค่าลดลงทั้งความสูงของลำต้น และน้ำหนักแห้งของส่วนยอด โดยระหว่างขาดธาตุอาหาร พบว่า ต้นกล้าที่ได้รับไคโทซาน O80 จะมีความยาวรากเพิ่มขึ้น (8.37 cm.) และอัตราส่วนระหว่างความยาวรากต่อความสูงของลำต้นได้เพิ่มขึ้น เช่นกัน (0.373) ความยาวรากและอัตราส่วนของความยาวรากต่อความสูงของลำต้นของต้นกล้าที่ได้รับไคโทซาน O80 นั้น มีค่าเป็น 2 และ 1.87 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับชุดการทดลองควบคุมตามลำดับ อย่างไรก็ตามต้นกล้าในชุดการทดลองที่ได้รับปุ๋ยอินทรีย์น้ำ และชุดการทดลองควบคุมแสดงค่าน้ำหนักสดและความยาวของลำต้นและรากที่คล้ายคลึงกัน แต่ในทางตรงกันข้ามค่าน้ำหนักแห้งและค่าความยาวของลำต้นของต้นกล้าข้าวจะถูกจำกัดลงเมื่อเพาะเลี้ยงต้นกล้าข้าวด้วยน้ำพุร้อน การสะสมของรงควัตถุต่าง ๆ เช่น คลอโรฟิลล์ a (1.195 เท่า), คลอโรฟิลล์ b (1.20 เท่า) และแคโรทีน (1.17 เท่า) ในต้นกล้าข้าวที่ขาดธาตุอาหารแต่เสริมด้วย chitosan O80 นั้น จะสามารถคำนวณได้จากสมการของ Lichtentaler และ Wellburn จากการวิเคราะห์ค่าความแปรปรวน (ANOVA) และการทดสอบค่าเฉลี่ยด้วยวิธีดันแคน (DMRT) พบว่า ไคโทซาน O80 สามารถกระตุ้นการเพิ่มขึ้นของความยาวของปากใบได้ 2.198 เท่า เมื่อเทียบกับชุดการทดลองควบคุม และยังเพิ่มจำนวนความหนาแน่นของปากใบต่อพื้นที่หนึ่งตารางมิลลิเมตร (18.45 เซลล์) ซึ่งการค้นพบทั้งหลายนี้ ชี้ให้เห็นถึงกลไกการทำงานของไคโทซานทีเกี่ยวข้องกับการรอดชีวิตในต้นกล้าข้าวก่ำเมืองพะเยาที่อยู่ในสภาพการขาดธาตุอาหาร