การศึกษาการผลิตเชื้อเพลิงเขียวอัดแท่งจากเปลือกส้มเขียวหวานสายพันธุ์บางมด

Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการนำเปลือกส้มเขียวหวานซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้งจากร้านค้าผลไม้มาผลิตเป็นเชื้อเพลิงเขียวอัดแท่ง และศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการอัดแท่งเชื้อเพลิง ในงานวิจัยนี้ใช้น้ำแป้งมันสำปะหลังเป็นตัวประสาน โดยมีอัตราส่วนผสมของแท่งเชื้อเพลิงเขียวระหว่างเปลือกส้มเขียวหวาน (กิโลกรัม) ต่อนํ้าแป้งมันสำปะหลัง (ลิตร) คือ 1:0, 1:1.25, 1:1.50, 1:1.75 และ 1:2 โดยทำการอัดขึ้นรูปด้วยวิธีการอัดเย็นและได้ทดสอบคุณสมบัติของแท่งเชื้อเพลิงตามมาตรฐาน ASTM ผลจากการศึกษาพบว่า ค่าความร้อนของแท่งเชื้อเพลิงเขียวที่ได้อยู่ในช่วงประมาณ 4,200-4,400 แคลอรีต่อกรัม ในขณะที่ค่าความชื้น สารระเหยปริมาณเถ้า และคาร์บอนคงตัวอยู่ในช่วงประมาณร้อยละ 1.42-3.38, 69.13-76.69, 10.09-17.54 และ 9.70-11.77 ตามลำดับ นอกจากนั้นแท่งเชื้อเพลิงเขียวมีค่าความหนาแน่น และความทนทานประมาณ 2.98-4.15 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร และ 0.91-0.99 ตามลำดับ และระยะเวลาในการเผาไหม้ของแท่งเชื้อเพลิงเขียวปริมาณ 100 กรัม อยู่ในช่วง 76-93 นาที จากผลการทดลองได้พบว่า อัตราส่วนผสมที่มีคุณสมบัติด้านเชื้อเพลิงดีที่สุด คือ เปลือกส้มเขียวหวาน 1 กิโลกรัม ต่อนํ้าแป้งมันสำปะหลัง 0 ลิตร (ไม่มีตัวประสาน) และพบว่า แท่งเชื้อเพลิงเขียวจากเปลือกส้มเขียวหวานมีค่าความร้อนสูงกว่าเชื้อเพลิงจากวัสดุชีวมวลอื่น เช่น เปลือกสับปะรด เปลือกมังคุด เปลือกทุเรียน และทางมะพร้าว ดังนั้นเชื้อเพลิงเขียวอัดแท่งจากเปลือกส้มเขียวหวานสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นเชื้อเพลิงทางเลือกชนิดหนึ่ง เพื่อทดแทนการใช้ฟืนไม้ในครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม นอกจากนั้น ยังเป็นแนวทางหนึ่งของการนำวัสดุเหลือทิ้งมาใช้ให้เกิดประโยชน์และลดขยะที่ไม่จำเป็น
Description
This research is aimed to study potential and characteristics of biomass briquetting fuel and find out and appropriate ratio of green fuel briquetted from tangerine peel which is an organic waste from a fruit market. In experiment, tapioca flour was used as a binder. Various ratios of green fuel briquetted between tangerine peel (kg) and tapioca flour (L) were determined as 1:0, 1:1.25, 1:1.50, 1:1.75 and 1:2 by extrusion with cold press method. Tested characteristics of green fuel briquetted were investigated according to ASTM standards. The results showed that the heating value of the green fuel briquetted was approximately 4,200-4,400 cal/g while that of moisture, volatile matter, ash and fixed carbon content were about 1.42-3.38, 69.13-76.69, 10.09-17.54 and 9.70-11.77 %, respectively. In addition, that of density and durability were approximately 2.98-4.15 g/cm3 and 0.91-0.99, respectively. As for direct combustion, 100 g green fuel briquetted could be entirely burnt in range of 76 to 93 minutes. Finally, the best ratio of green fuel briquetted between tangerine peel and tapioca flour was 1:0 (without binder). Nevertheless, the green fuel briquetted from tangerine peel had a higher heating value than biomass briquetted fuel such as pineapple peel, mangosteen peel, durian peel and coconut leaf. Consequently, the green fuel briquetted from tangerine peel could be utilized as one choice of alternative fuel compensating firewood in household and industrial sectors. It could be said that there is one of approaches to reduce and eliminate waste materials
Keywords
ส้มเขียวหวาน, เชื้อเพลิงเขียวอัดแท่ง, กรรมวิธีการอัดแท่งเชื้อเพลิง, ค่าความร้อน, Tangerine, Green fuel briquetted, Extrusion process, Heating value
Citation
จุฑารัตน์ เปี้ยสุยะ. (2559). การศึกษาการผลิตเชื้อเพลิงเขียวอัดแท่งจากเปลือกส้มเขียวหวานสายพันธุ์บางมด. [ปริญญานิพนธ์ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา.