การประยุกต์ใช้แบคทีเรียปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคผลเน่าจากเชื้อ Pestalotiopsis sp. และเชื้อ Lasiodiplodia sp. ของการผลิตลำไยพันธุ์อีดอ (Dimocarpus longan Lour.)

No Thumbnail Available
Date
2020
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
งานวิจัยนี้ คัดเลือกเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ในการยับยั้งเชื้อรา Pestalotiopsis sp. และ Lasiodiplodia sp. สาเหตุโรคผลเน่าของลำไย โดยคัดแยกเชื้อจุสินทรีย์จากใบ และดินบริเวณสวนลำไยได้ทั้งหมด 120 ไอโซเลท ด้วยวิธี spread plate technique นำไปทดสอบการเป็นแบคทีเรียปฏิปักษ์ที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Pestalotiopsis sp. และ Lasiodiplodia sp. ด้วยวิธี Dual culture plate technique บนอาหาร PDA พบว่า ไอโซเลท S050 มีค่าการยับยั้งการเจริญของเส้นใยของเชื้อรา Pestalotiopsis sp. อยู่ที่ 72.67 เปอร์เซ็นต์ และไอโซเลท S067 มีค่าการยับยั้งการเจริญของเส้นใยของเชื้อรา Lasiodiplodia sp. อยู่ที่ 70.37 เปอร์เซ็นต์ จากการระบุสายพันธุ์ของแบคทีเรีย โดยการจำแนกสายพันธุ์แบคทีเรียด้วยลักษณะทางสัณฐานวิทยา คุณสมบัติ ทางชีวเคมี พบว่า มีลักษณะทางสัณฐานวิทยาของแบคทีเรียแกรมบวก ย้อมแกรมติดสีม่วง มีรูปร่างท่อนสั้น มีการจัดเรียงตัวกระจัดกระจาย มีการสร้างเอนโดสปอร์และการบ่งบอกสายพันธุ์ในระดับดีเอ็นเอ พบว่า ไอโซเลท S050 และไอโซเลท S067 มีความเหมือนกับแบคทีเรีย Bacillus subtilis และ Bacillus amyloliquefaciens โดยมีเปอร์เซ็นต์ความเหมือน 100% และ 99% ตามลำดับ จากการทดสอบแบคทีเรียปฏิปักษ์ที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา Pestalotiopsis sp. และ Lasiodiplodia sp. ในห้องปฏิบัติการบนผลลำไยหลังจากการปลูกเชื้อ 9 วัน พบว่า แบคทีเรียปฏิปักษ์ไอโซเลท S050 และ S067 ที่ 108 cfu/ml มีการเกิดโรคที่ 45 เปอร์เซ็นต์ และ 32.5 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ นอกจากนี้การทดสอบในระดับแปลงปลูก พบว่า แบคทีเรียปฏิปักษ์ ไอโซเลท S050 และ S067 มีเปอร์เซ็นต์ในการเกิดโรค 40.63 เปอร์เซ็นต์ 45.63 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
Description
This research was screening of antagonistic bacteria against Pestalotiopsis sp. and Lasiodiplodia sp., the pathogenic fungus fruit rot disease of longan. Total of 120 isolates of bacteria from leaves and soil in longan garden were isolated by spread plate technique. Then, all isolates were tested with mycelia of Pestalotiopsis sp. and Lasiodiplodia sp. on PDA medium by using Dual culture methods. The result showed that, Isolate S050 was presented to inhibition of Pestalotiopsis sp. at 72.67 percent and isolate S067 was presented to inhibition of Lasiodiplodia sp. at 70.37 percent. For their identification by morphological and biochemical test were used, coupled with molecular techniques. The results indicate that the morphological character of the isolates was related gram-positive bacteria, rod-shaped, endospore-forming bacteria. For molecular biology method result shown that, the isolates S050 and S067 were similarity to bacillus subtilis and Bacillus amyloliquefaciens with 100% and 99% identity. The antagonistic bacteria with hight antifungal activity to inhibition of Pestalotiopsis sp. and Lasiodiplodia sp. were proved in In vitro condition with 108 cfu/ml concentration of antagonistic on longan fruits. After 9 days of incubation with S050 and S067 significant differences were registered between disease incidence at 45 percent and 32.5 percent, respectively. Moreover, the tested field condition found that isolates antagonist bacteria S050 and S067 percentage of disease at 40.63 percent and 45.63 percent, respectively.
Keywords
แบคทีเรียปฏิปักษ์, โรคผลเน่า, ลำไย, Antagonistic bacteria, Fruit rot disease, Longan
Citation
จิรภิญญา เลี่ยมไครต่วน. (2564). การประยุกต์ใช้แบคทีเรียปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคผลเน่าจากเชื้อ Pestalotiopsis sp. และเชื้อ Lasiodiplodia sp. ของการผลิตลำไยพันธุ์อีดอ (Dimocarpus longan Lour.). [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา.