แนวทางการส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน ตำบลห้วยสัก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
dc.contributor.author | ชลธิชา รอดหิรัญ | |
dc.date.accessioned | 2024-04-19T07:02:25Z | |
dc.date.available | 2024-04-19T07:02:25Z | |
dc.date.issued | 2018 | |
dc.description | This research used both quantitative and qualitative research. The purpose of the research were 1) to study the context and potential of Agro-tourism in Rai Cherntawan International Meditation Center Huaysak, Muang District, Chiang Rai province. 2) to study tourists demand of Agrotourism in Rai Cherntawan International Meditation Center Huaysak, Muang District, Chiang Rai province. 3) to propose the promotion of Agrotourism in Rai Cherntawan International Meditation Center Huaysak, Muang District, Chiang Rai province. The results showed that the context of Rai Cherntawan began from general activities, meditation and the interest from tourists to visit. Rai Cherntawan was devided to Organic farming zone and Dhamma puzzle and meditation zone. Agro-tourism of Rai Cherntawan was started with the promotion of Organic Farming Buddhist Way to farmers and those interested which had pattern from Rai Cherntawan and a year course Farmer student for the farmer who interest organic farming. The activities are doing organic agricultural demonstration plot, Mushroom house, Vegetable rot, Waste superheating plant, Earthworm manure fertilizer and agricultural products shop. The evaluation of broad and officer about tourist attractions competency in Rai Cherntawan found that had a moderate potential. An attractiveness of tourism location had maximum potential while tourist attraction service had lowest potential. At the point of the experts, there were high potential. The maximum potential was attractiveness while the lowest potential was a support of tourist attraction. The demand of tourist from the element of 4As were 1) Attractions 2) Accessibilities 3) Amenities and 4) Activities, were found that the overall demand is high. The highest demand was Accessibilities, secondly was Activities, thirdly was Attractions and the last one was Amenities. Rai Cherntawan’s activities that tourists interested in highest level was meeting Phramaha Vudhijaya Vajiramedhi then visiting museum, Dhamma puzzle and visiting Farmer student’s activities. The ways to promote activities of agrotourism in Rai Cherntawan in the part of accessibilities are adding activities advertising broads in tourist attraction and important point in Chiang Rai, for example, the airport, bus terminal, Wat Rong Khun, Choui Fong Tea to increase the way of information giving of agrotourism and another way was public relations the activities by online media such as facebook, website which was updating the information and easy to access. In the part of activities, to add agricultural activities that general tourist can join, for example, keep the yield seasonal, receive primary information by Knowledgeable staff or farmer guide from farmer student network that availability to give knowledge and demonstration. Tourists or interested were connected between agrotourism activities and main activities of the center which was meditation such as adding meditation practice in the process of mushroom cultivation training. To promote of amenity were improving the signs, using both Thai language and foreign language to explain the meaning and significance of tourist attraction, making guide book, increase enough rest area and shady route, improving basic public utility such as toilet, path, signs in accord with agrotourism activities, training farmer student network or famer to built farmer guide for giving information and guiding the tourists. In the part of the attraction, should be link agrotourism with Rai Cherntawan’s activities, expand area of agrotourism activities and connect routes such as putting Buddhist art in the area of agrotourism activities or doing activities in dhamma puzzle area to connect agrotourism with spiritual tourism, planning to improve and develop the tourist attraction in Rai Cherntawan to be more beautiful all the time | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือเชิงปริมาณและเครื่องมือเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ของการศึกษา 1) เพื่อศึกษาบริบทและศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรของศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน ตำบลห้วยสัก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย 2) เพื่อศึกษาความต้องการของนักท่องเที่ยวเชิงเกษตรของศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน ตำบลห้วยสัก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย 3) เพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน ตำบลห้วยสัก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ผลการศึกษาพบว่า บริบทศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวันเริ่มต้นจากการการจัดกิจกรรมการวิปัสสนา และได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวในการเดินทางไปเยี่ยมชม โดยแบ่งพื้นที่เป็น 2 คือ ส่วนทำมาหากินเป็นแปลงเกษตรอินทรีย์ และส่วนทำมาหาธรรม คือ ส่วนของปริศนาธรรมและงานวิปัสสนา การท่องเที่ยวเชิงเกษตรของศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน เริ่มต้นจากแนวความคิดการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์วิถีพุทธแก่เกษตรกรและผู้สนใจ โดยให้ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวันเป็นต้นแบบ และมีการจัดหลักสูตรนักเรียนชาวนา เพื่อให้เกษตรกรที่สนใจการทำเกษตรอินทรีย์เข้าร่วมเป็นหลักสูตร 1 ปี โดยมีกิจกรรมการทำแปลงสาธิตเกษตรอินทรีย์ โรงเห็ดอารมณ์ดี แปลงผักหมุนเวียน โรงแยกขยะ โรงไส้เดือน และร้านจำหน่ายสินค้าเกษตร การประเมินของผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน โดยรวมพบว่า มีศักยภาพอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีศักยภาพสูงสุด คือ ศักยภาพด้านการดึงดูดใจของแหล่งท่องเที่ยว และด้านที่มีศักยภาพต่ำสุด คือ ศักยภาพด้านการให้บริการของแหล่งท่องเที่ยว การประเมินจากผู้เชี่ยวชาญโดยรวม พบว่า มีศักยภาพอยู่ในระดับสูง ด้านที่มีศักยภาพภาพสูงสุด คือ ด้านการดึงดูดใจ และที่มีศักยภาพต่ำสุด คือ ศักยภาพด้านการรองรับของแหล่งท่องเที่ยว ความต้องการของนักท่องเที่ยวจากองค์ประกอบ 4As ได้แก่ 1) ด้านสิ่งดึงดูดใจ 2) ด้านการเข้าถึง 3) ด้านสิ่งอานวยความสะดวก และ 4) ด้านกิจกรรม พบว่า ความต้องการโดยรวมอยู่ในระดับสูง โดยด้านการเข้าถึง (Accessibilities) ระดับสูงเป็นอันดับ 1 รองลงมา คือ ด้านกิจกรรม (Activities) ด้านสิ่งดึงดูดใจ (Attractions) และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (Amenities) ตามลำดับ กิจกรรมของศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวันที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจโดยรวมอยู่ในระดับสูง คือ กิจกรรมการเข้าพบพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี เป็นอันดับ 1 รองลงมาเป็นกิจกรรมเยี่ยมชมหอศิลป์ ปริศนาธรรมภายในศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน และเยี่ยมชมกิจกรรมโรงเรียนชาวนาเป็นอันดับรองลงมา แนวทางส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว (Accessibility) เพิ่มป้ายประชาสัมพันธ์กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน ตามแหล่งท่องเที่ยวและจุดสำคัญในจังหวัดเชียงราย เช่น สนามบินเชียงราย สถานีขนส่งประจำจังหวัดห้างสรรพสินค้า วัดร่องขุ่น ไร่ชาฉุยฟง เพื่อเพิ่มช่องทางการให้ข้อมูลการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของศูนย์วิปัสสนาฯ และมีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรผ่านสื่อออนไลน์ เช่น เฟสบุ๊ค เว็ปไซต์โดยมีการปรับปรุงข้อมูลให้มีความทันสมัย และเข้าถึงได้ง่ายตลอดเวลา ด้านกิจกรรม (Activity) เพิ่มกิจกรรมเชิงเกษตรที่นักท่องเที่ยวทั่วไปสามารถเข้าร่วมได้ เช่น กิจกรรมเก็บผลผลิตตามฤดูกาล มีเจ้าหน้าที่ ที่มีความรู้สามารถให้ข้อมูลเบื้องต้น หรือมัคคุเทศก์เกษตรกร ที่มาจากเครือข่ายนักเรียนชาวนาที่มีความพร้อมสามารถให้ความรู้ และสาธิตกิจกรรมเกษตรนักท่องเที่ยวหรือผู้สนใจได้ มีการเชื่อมโยงกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกับกิจกรรมหลักของศูนย์วิปัสสนา คือ กิจกรรมการภาวนา เช่น การจัดให้มีการจัดอบรมการเพาะเห็ดอารมณ์ดี และมีการสอนการภาวนาในระหว่างกระบวนการการอบรม เป็นต้น ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (Amenity) ปรับปรุงป้ายสื่อความตามจุดต่าง ๆ อธิบายความหมาย และความสำคัญของจุดท่องเที่ยวแต่ละจุดทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ รวมทั้งจัดทำคู่มือการท่องเที่ยวภายในศูนย์ฯ ให้กับนักท่องเที่ยว เพิ่มที่พักตามจุดและทางเดินร่มตามเส้นทางการท่องเที่ยว มีการปรับปรุงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เช่น ห้องน้ำ ทางเดิน ป้ายบอกทาง หรือป้ายสื่อความหมายภายในแหล่งท่องเที่ยวบริการนักท่องเที่ยวอย่างเพียงพอ และมีความสอดคล้องกับกิจกรรมเกษตรอินทรีย์วิถีพุทธ มีการจัดอบรมเครือข่ายนักเรียน ชาวนาหรือเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนชาวนา สร้าง มัคคุเทศก์เกษตรกร ทำหน้าที่ให้ความรู้และนำชมแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรภายในศูนย์ฯ ด้านสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว (Attractions) สร้างกิจกรรมเชื่อมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเชื่อมโยงกับกิจกรรมอื่น ๆ ในศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน ขยายพื้นที่การจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรผสมผสานไปกับพื้นที่ส่วนทำมาหาธรรม โดยจัดทำเป็นเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยงการท่องเที่ยวต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เช่น การนำงานพุทธศิลป์ไปจัดวางตามจุดต่าง ๆ ที่มีกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และมีการทำกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในส่วนพื้นที่ปริศนาธรรม เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกับการท่องเที่ยวเชิงศาสนาเข้าด้วยกัน และวางแผนปรับปรุงและพัฒนาจุดท่องเที่ยวต่าง ๆ ภายในศูนย์วิปัสสนาให้มีความสวยงามอยู่ตลอดเวลาข้อเสนอแนะ คือ ให้มีการเพิ่มเติมด้านที่พักโดยเพิ่มที่พักแบบโฮมเสตย์ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวเชิงเกษตรและมีความหลายหลาย เพิ่มเติมด้านการบริหารจัดการ ซึ่งแบ่งเป็น 1) ด้านบุคลากร เพิ่มความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวโดยจัดทำแผนการพัฒนาบุคลากร 2) ด้านพื้นที่ มีการจัดแบ่งสัดส่วนกิจกรรมและมีการจัดทำเส้นทางการท่องเที่ยวที่ชัดเจน และ 3) ด้านการบริหารเครือข่ายมีการเชื่อมโยงเครือข่ายท่องเที่ยวเกษตรบริเวณใกล้เคียงและภายในจังหวัดเชียงราย | |
dc.description.sponsorship | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.identifier.uri | https://updc.up.ac.th/handle/123456789/428 | |
dc.language.iso | other | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.subject | ท่องเที่ยวเชิงเกษตร | |
dc.subject | ไร่เชิญตะวัน | |
dc.subject | Gro-Tourism | |
dc.subject | Agriculture tourism Rai Cherntawan | |
dc.title | แนวทางการส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน ตำบลห้วยสัก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย | |
dc.title.alternative | Guidelines for the Promotion of Agriculture Tourism in Rai Chern Tawan International Meditation Center, Huaysak, Chiang Rai Province | |
dc.type | Thesis |