การประเมินความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อขาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
No Thumbnail Available
Date
2014
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
ที่มา ภาวะตื้ออินซูลิน ความบกพร่องของการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย ความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ทำให้ความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ลดลง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อรยางค์ส่วนล่าง วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อขาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 วิธีการ อาสาสมัครทั้งหมด จำนวน 60 คน แบ่งเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 30 คน และกลุ่มคนปกติ จำนวน 30 คน อาสาสมัครทั้งหมดได้รับการทดสอบโดยใช้การจับเวลาในการลุกยืน 10 ครั้ง (sit-to-stand-to-sit test for 10 repetitions; STS10) เพื่อประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา การทดสอบจำนวนครั้งในการลุกขึ้นยืนภายในเวลา 60 วินาที (sit-to-stand-to-sit test for 60 seconds; STS60) เพื่อประเมินความทนทานของกล้ามเนื้อขา ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาน้อยกว่ากลุ่มคนปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.04) นอกจากนี้ยัง พบว่า ความทนทานของกล้ามเนื้อขาของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 น้อยกว่ากลุ่มคนปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.02) สรุปผลการศึกษา ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อขาน้อยกว่ากลุ่มคนปกติ ดังนั้น ควรแนะนำโปรแกรมการออกกำลังกายที่เพิ่มความแข็งแรงและความทนทานให้กับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
Description
Background: Insulin resistance, impaired of metabolism in the body, neuromuscular impairments can decrease of muscles strength and endurance in patients with type 2 diabetes mellites (T2DM) especially in the lower extremities. Objective: The purpose of this study was assess lower limb muscles strength and endurance in type 2 diabetes mellitus. Method: Sixty subjects voluntarily participated and were divided into two groups; T2DM group (n = 30) and normal group (n = 30). All subjects were received a sit-to-stand-to-sit test for 10 repetitions (STS10) to measure muscles strength in the lower extremities and a sit-to-stand-to-sit test for 60 seconds (ST560) to measure muscles endurance in the lower extremities. Results: The results showed that lower extremities muscles strength in T2DM was significant lower than normal subjects (p-0.04). Moreover, lower extremities muscles endurance in T2DM was significant lower than normal subjects (p:02). Conclusion: T2DM patients had lower muscles strength and endurance in the lower extremities. A program for help increase muscles strength and endurance fitness is recommended for T2DM patients.
Keywords
โรคเบาหวาน, ความแข็งแรง, ความทนทาน, การทดสอบการลุกขึ้นยืน
Citation
ชไมพร สงวนชื่อ, นิตยา สุทธเขตต์ และภานุวัฒน์ สุขมี. (2557). การประเมินความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อขาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. [ปริญญานิพนธ์บัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา. ฐานข้อมูลคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยพะเยา (UP Digital Collections: UPDC).