แนวทางการพัฒนาการจัดการเครือข่ายประมงพื้นบ้านกว๊านพะเยา

dc.contributor.authorวรินทร์ลดา สืบดี
dc.date.accessioned2024-10-22T08:20:12Z
dc.date.available2024-10-22T08:20:12Z
dc.date.issued2020
dc.descriptionThe research on Guidelines for the development of local fisheries network at Kwan Phayao is a qualitative research and has the objectives to 1) study Phayao Lake constitutional provision and policies about development of management guidelines of The Local Fishery Network at Phayao Lake and to 2) set Guidelines for the development of Local Fisheries Network at Kwan Phayao. There are 3 groups of key informants used in the study, namely: 10 local fishery network members, 7 officials from the government agencies that secure Phayao Lake area and 5 local administrative organization administrators. And the tools used in the study were in-depth semi-structural interviews form. The study was conducted in the descriptive analysis using method of lecture and discussion. The result of the study showed that the content of Phayao Lake Constitutional Provision consisting of 5 categories, 21 section which involves directly with Guidelines for the development of Local Fisheries Network at Kwan Phayao. The overall content is about creating a learning process for people in Phayao Lake society and having joint management of many departments which identified clearly in the provision but not yet announced officially. About policy related to Guidelines for the development of Local Fisheries Network at Kwan Phayao. it was found that there are 7 main agencies of the government which have policies to promote Guidelines for the development of Local Fisheries Network at Kwan Phayao. Each department is directly and indirectly involved in the development of management guidelines of the Local Fishery Network and there are driving policies and operations for efficiency and effectiveness. This is to respond to the policy of Guidelines for the development of Local Fisheries Network at Kwan Phayao and it was found that Local Fishery Network members, officials from the government agencies that secure Phayao Lake area and Local Administrative Organization administrators have all the same opinions. That is, the development of management of Local Fishery Network to be firm should require harmony, balance, dependence, vision, participation, exchanging knowledge, sharing perspectives, strengthening one another, sharing interest and relationship among members. Additionally, the researchers suggest that the development of management of Local Fishery Network to be firm should establish good awareness for all stakeholders to understand thoroughly.
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาการจัดการเครือข่ายประมงพื้นบ้านกว๊านพะเยา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ประกอบด้วย เพื่อศึกษาข้อบัญญัติธรรมนูญกว๊านพะเยา และนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเครือข่ายประมงพื้นบ้านกว๊านพะเยา และเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาการจัดการเครือข่ายประมงพื้นบ้าน กว๊านพะเยา ซึ่งผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการศึกษามี 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเครือข่ายประมงพื้นบ้าน จำนวน 10 คน กลุ่มเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐที่ควบคุมดูแลพื้นที่กว๊านพะเยา จำนวน 7 คน และกลุ่มผู้บริหารองค์กรส่วนท้องถิ่นรอบกว๊านพะเยา จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบกึ่งโครงสร้าง ผู้ศึกษาได้ทำการวิเคราะห์ เชิงพรรณนาด้วยวิธีบรรยาย และอภิปรายผลการวิจัย พบว่า ข้อบัญญัติธรรมนูญกว๊านพะเยา มี 5 หมวด 21 ข้อ ซึ่ง ข้อบัญญัติ ทั้ง 5 หมวด เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการจัดการเครือข่ายประมงพื้นบ้านกว๊านพะเยาโดยตรง มีเนื้อหาด้านต่าง ๆ ระบุอย่างชัดเจนแต่ยังมิได้บังคับใช้อย่างเป็นทางการโดยรวม ได้แก่ การสร้างกระบวนการเรียนรู้ของคนในสังคมในพื้นที่กว๊านพะเยา มีการบริหารจัดการร่วมกันหลายหน่วยงาน ด้านนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการจัดการเครือข่ายฯ พบว่า มี 7 หน่วยงานหลักของภาครัฐที่มีนโยบายส่งเสริมการพัฒนาเครือข่ายประมงพื้นบ้านกว๊านพะเยาในด้านต่าง ๆ แต่ละหน่วยงานมีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาการจัดการเครือข่ายประมงพื้นบ้านทั้งทางตรงและทางอ้อม มีการขับเคลื่อนนโยบายและการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล เพื่อสนองต่อนโยบาย ส่วนของแนวทางการพัฒนาการจัดการเครือข่ายประมงพื้นบ้านกว๊านพะเยา พบว่า ด้านเครือข่ายประมงพื้นบ้านกว๊านพะเยา เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐที่ควบคุมดูแลพื้นที่กว๊านพะเยา และผู้บริหารองค์กรส่วนท้องถิ่น มีความคิดเห็นเรื่อง แนวทางการพัฒนาการจัดการเครือข่ายประมงพื้นบ้านกว๊านพะเยาไปในทิศทางเดียวกัน คือ การพัฒนาการจัดการเครือข่ายประมงพื้นบ้านกว๊านพะเยาให้ยั่งยืนได้นั้น ควรตระหนักเรื่องความสามัคคี ความสมดุล การพึ่งพาอาศัยกัน การมีวิสัยทัศน์ การมีส่วนร่วม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน การรับรู้มุมมองร่วมกัน การเสริมสร้างซึ่งกันและกัน การมีความสนใจร่วมกันและมีผลประโยชน์ร่วมกัน และการปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกด้วยกัน ความเห็นเพิ่มเติมจากการวิจัย ในการพัฒนาการจัดการเครือข่ายประมงพื้นบ้านกว๊านพะเยาให้ยั่งยืนได้นั้น ควรสร้างการรับรู้ที่ดี มีช่องทางการสื่อสาร และที่สำคัญควรตระหนักถึงความสมดุลของการพัฒนาการจัดการเครือข่ายประมงพื้นบ้านกว๊านพะเยา เมื่อแนวทางพัฒนาการจัดการเครือข่ายประมงพื้นบ้านมีทิศทางที่ชัดเจน จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งทางด้านเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อม ที่ทุกภาคส่วนควรมีการส่งเสริมและพัฒนาร่วมกันกับเครือข่ายประมงพื้นบ้านกว๊านพะเยาต่อไป
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยพะเยา
dc.identifier.citationวรินทร์ลดา สืบดี. (2563). แนวทางการพัฒนาการจัดการเครือข่ายประมงพื้นบ้านกว๊านพะเยา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา]. ฐานข้อมูลคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยพะเยา (UP Digital Collections: UPDC).
dc.identifier.urihttps://updc.up.ac.th/handle/123456789/908
dc.language.isoother
dc.publisherมหาวิทยาลัยพะเยา
dc.subjectการพัฒนา
dc.subjectการจัดการ
dc.subjectเครือข่าย
dc.subjectประมงพื้นบ้าน
dc.subjectกว๊านพะเยา
dc.subjectGuidelines
dc.subjectDevelopment
dc.subjectManagement
dc.subjectNetwork
dc.subjectLocal fishery
dc.subjectKwan Phayao
dc.titleแนวทางการพัฒนาการจัดการเครือข่ายประมงพื้นบ้านกว๊านพะเยา
dc.title.alternativeDeveloped Management Approach of the Local Fishery Network in Kwan Phayao
dc.typeThesis
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
Warinlada Suebdee.pdf
Size:
3.35 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed to upon submission
Description: