การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพราเอนโดไฟท์ (Trichoderma phayaoense L1I3) เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโต และควบคุมราก่อโรคของเมล่อน และคะน้า
Loading...
Date
2023
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพจากราเอนโดไฟท์ Trichoderma phayaoense (L1I3) เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโต และควบคุมรา Fusarium hinanense สาเหตุโรคเหี่ยวของเมล่อน และ Pythium aphnidermatum ราสาเหตุโรคเน่าคอดินของคะน้า โดยทดสอบวัสดุที่เหมาะสมต่อการนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพแบบเม็ด พบว่า เวอร์มิคูไลท์ผสมแป้งข้าวเหนียว มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะนำมาพัฒนาเป็นสูตรการทำผลิตภัณฑ์ชีวภาพแบบเม็ดจากราเอนโดไฟท์ T. phayaoense (L1I3) โดยมีค่าการคงรูปในน้ำที่เหมาะสม มีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) เท่ากับ 6.21 ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อการเจริญของรา T. phayaoense (L1I3) มีค่าการนำไฟฟ้าเท่ากับ 0.50 เดซิซีเมนต่อเมตร ซึ่งไม่เกินค่ามาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ อีกทั้งค่าความแข็งอยู่ในช่วงที่ไม่แตกหักง่ายและไม่แข็งเกินไป ต่อมาศึกษาอัตราการมีชีวิตรอดของรา T. phayaoense (L1I3) ในผลิตภัณฑ์แบบเม็ดและแบบผง โดยเก็บรักษาไว้ในอุณหภูมิ 4, 8, 28 และ 40 องศาเซลเซียส พบว่า ผลิตภัณฑ์ชีวภาพแบบผงและแบบเม็ด มีแนวโน้มที่จะเก็บรักษาได้นานที่อุณหภูมิต่ำ คือ เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส มีเปอร์เซ็นต์การมีชีวิตรอดของรา T. phayaoense (L1I3) มากที่สุดหลังเก็บรักษานาน 12 เดือน เท่ากับ 80.33 และ 75.48 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในขณะที่การเก็บที่อุณหภูมิที่ 40 องศาเซลเซียส พบว่า ผลิตภัณฑ์แบบเม็ดมีอัตราการมีชีวิตรอดมากกว่าแบบผงในเดือนที่ 8 เท่ากับ 51.12 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่แบบผงมีอัตราการมีชีวิตรอด เท่ากับ 35.97 เปอร์เซ็นต์ การศึกษาผลของผลิตภัณฑ์ชีวภาพต่อการส่งเสริมการเจริญเติบโตของเมล่อนและคะน้าในระดับโรงเรือน พบว่า เมล่อนที่ใส่ผลิตภัณฑ์ชีวภาพแบบเม็ดรา T. phayaoense (L1I3) มีค่าความสูง จำนวนใบ จำนวนข้อ น้ำหนักต้นสด น้ำหนักผลสด และปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ เฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 217.8 เซนติเมตร, 28 ใบ, 27 ข้อ, 540.14 กรัม, 1.53 กิโลกรัม และ 14.70 °brix ตามลำดับ ซึ่งมากกว่ากรรมวิธีที่อื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่การส่งเสริมการเจริญเติบโตของคะน้า พบว่า ในกรรมวิธีที่ใส่ผลิตภัณฑ์แบบเม็ดรา T. phayaoense มีค่าเส้นรอบวงของลำต้น เฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 14.13 มิลลิเมตร ส่วนด้านผลผลิต และน้ำหนักสดของต้นคะน้า ซึ่งมีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกับกรรมวิธีที่ใส่ปุ๋ยเคมี การแยกเชื้อกลับเพื่อตรวจสอบการอยู่รอดของราไตรโคเดอร์มาทั้งในเมล่อนและคะน้า ศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยา และโครงสร้างของราภายใต้กล้องจุลทรรศน์ด้วยวิธีการเลี้ยงบนสไลด์ พบราไตรโครเดอร์มาบริเวณดิน ราก และลำต้น ในทั้งสองพืชทดสอบ การทดสอบผลิตภัณฑ์ชีวภาพอัดเม็ดจากราเอนโดไฟท์ T. phayaoenses ในการควบคุมรา F. hainanense สาเหตุโรคเหี่ยวในเมล่อนในระยะต้นกล้า และรา P. aphnidermatum สาเหตุโรคเน่าของคะน้า พบว่า สามารถลดความรุนแรงของโรคได้อย่างประสิทธิภาพ
Description
The purpose of this research was to develop a biological product from the endophytic fungus Trichoderma phayaoense (L1I3) to promote growth and controls Fusarium hainanense, the causal agent of melon wilt, and Pythium aphnidermatum, the causal agent of damping off of kale. The test of suitable materials for the development of tablets biological products was evaluated. It was found that vermiculite mixed with glutinous rice flour had suitable properties to be used to develop a tablet bioproduct formulation from endophytic T. phayaoense (L1I3) with suitable aqueous stability. The pH was 6.21, which did not affect the growth of T. phayaoense (L1I3), had the electrical conductivity of 0.50 decimen per meter, which does not exceed the organic fertilizer standard. In addition, the hardness value is in the range that is not easily broken and not too hard. Study on the survival rate of T. phayaoense (L1I3) in tablets and powder form when stored at 4, 8, 28 and 40 °C, it was found that, bioproducts in powder and tablet form tends to be preserved for a long time at low temperatures, the survival rate of T. phayaoense (L1I3) after 12 months storage was 80.33 and 75.48 percent respectively. While storage
at 40 °C, the tablet product survival rate was 51.12 percent higher than the powder form at the eighth month, while the powder form survival rate was 35.97 percent. Study on the effects of bioproducts on growth promotion of melon and kale in greenhouse revealed that, melons treated with T. phayaoense (L1I3) tablet bioproducts had higher significantly than other methods of the height (217.8 cm.), number of leaves (28 leaves), number of joints (27 items), fresh weight (540.14 g), fresh fruit weight (1.53 kg) and soluble solids content (14.70 °brix). While promoting the growth of kale, It was found that in the tablet formular of T. phayaoense (L1I3) had highest stem circumference (14.13 mm), productivity and fresh weight of kale which has an average value close to the method of applying chemical fertilizers. Re-isolation to determine the survival of T. phayaoense (L1I3) in both melon and kale. Study morphology. and structure of fungi under a microscope using slide culture method. Trichoderma phayaoense (L1I3) was found on soil, roots and stems in both plants tested. Testing of tablet bioproducts from T. phayaoense (L1I3) for controlling F. hainanense, the causal agent of wilt in melon seedling stages and P.
aphnidermatum, the causal agent of damping off of kale, found that it could effectively reduce the severity of the disease.
Keywords
ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ, ส่งเสริมการเจริญเติบโต, การควบคุมโรคด้วยชีววิธี, ไตรโคเดอร์มา, Bio-formulation, Promote growth, Biocontrol, Trichoderma
Citation
สหัทยา สุขใหญ่. (2566). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพราเอนโดไฟท์ (Trichoderma phayaoense L1I3) เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโต และควบคุมราก่อโรคของเมล่อน และคะน้า. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา]. ฐานข้อมูลคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยพะเยา (UP Digital Collections: UPDC).