การศึกษาผลของไมคอร์ไรซาต่อการเจริญเติบโตของผักหวานป่า (Melientha Suavis Pierre)

dc.contributor.authorชนิกานต์ ยิ่งแสนตุ้ย
dc.contributor.authorขนิษฐา ลือชา
dc.contributor.authorเนตรนภา วงศรีรักษ์
dc.date.accessioned2024-12-20T08:32:02Z
dc.date.available2024-12-20T08:32:02Z
dc.date.issued2018
dc.descriptionThe study of the physical factor and mycorrhiza effective on Pak Wan Pa (Melientha Suavis Pierre) growth was purposed to studying physical, biological and nutrient factors effect to the growth of Pak Wan Pa. The study was conducted between March 2017-May 2018 by surveys and collecting Pak Wan Pa from dry dipterocarp forest in Ban Pin Chiang Maun district, Phayao Province, studying type of mixing soil effect to the growth rate of seed germiration. The effect of mycorrhiza consists of Thaeogyroporus porentosus and Astraeus hygrometricus (Pers) Morg mushroom on the growth rate of Pak Wan Pa and Nitrogen, Phosphorus and Potassium was analysis in soil. The result showed that the growth rate of Pak Wan Pa seed germination in mixing soil had the highest in lateritic soil mix with sand (100%) (average of the highest was 93.48±26.84 mm.) For the result ot mycorrhiza found that Thaeogyroporus porentosus with Pak Wan Pa had the highest of total height (8.68±3.81 cm.), while Astraeus hygrometricus (Pers) Morg with Pak Wan Pa had the highest number of leave (9.16±1.17 leaves). Found 9 species of mycorrhiza from mixing soil of Pak Wan Pa, only 4 species were classified including Aspergillus spp., Paecilomyces lilacinus, Fusarium spp. and Nigrospora sphaerica (Sacc.) Mason.
dc.description.abstractการศึกษาปัจจัยเชื้อราไมคอร์ไรซาต่อการเจริญเติบโตของผักหวานป่า มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยทางกายภาพ ธาตุอาหารในดินต่อการเจริญเติบโตของผักหวานป่าและศึกษาปัจจัยทางชีวภาพ จากผลของกลุ่มเชื้อราไมคอร์ไรซาที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของผักหวานป่า ทำการศึกษาโดย สำรวจผักหวานป่าในพื้นที่ของป่าเต็งรัง ในหมู่บ้านปิน ตำบลเชียงม่วน อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ศึกษาชนิดดินปลูกที่มีผลต่ออัตราการงอกของเมล็ดผักหวานป่า ศึกษาผลการใช้เชื้อไมคอร์ไรซาจากเชื้อเห็ดเผาะ และเห็ดตับเต่า ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของผักหวานป่า และวิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน ได้แก่ ค่าไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ผลการศึกษาพบว่า อัตราการเจริญเติบโตของเมล็ดผักหวานป่าในวัสดุปลูกที่แตกต่างกัน ผักหวานป่าจะเจริญเติบโตได้ดีที่สุด ในดินลูกรังผสมทรายมีอัตราการงอกสูงสุด (100%) (ความสูงเฉลี่ย 93.48±26.84 มิลลิเมตร) การศึกษาผลของไมคอร์ไรซาต่อการเจริญเติบโตของผักหวานป่า พบว่า กลุ่มที่ใส่เชื้อเห็ดตับเต่ามีความสูงของลำต้น เฉลี่ยสูงสุด (8.68±3.81 เซนติเมตร) ผักหวานป่าที่ใส่เชื้อเห็ดเผาะ และมีใบมากขึ้นมากที่สุด (9.16±1.17 ใบ) และจากการจำแนกชนิดของเชื้อราในดินบริเวณรากต้นผักหวานป่า พบเชื้อราไมคอร์ไรซา จำนวน 9 ชนิด สามารถจำแนกได้ 4 ชนิด คือ Aspergillus spp., Paecilomyces lilacinus, Fusarium spp. และ Nigrospora sphaerica (Sacc.) Mason
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยพะเยา
dc.identifier.citationชนิกานต์ ยิ่งแสนตุ้ย, ขนิษฐา ลือชา และเนตรนภา วงศรีรักษ์. (2561). การศึกษาผลของไมคอร์ไรซาต่อการเจริญเติบโตของผักหวานป่า (Melientha Suavis Pierre). [ปริญญานิพนธ์ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา.
dc.identifier.urihttps://updc.up.ac.th/handle/123456789/1118
dc.language.isoother
dc.publisherมหาวิทยาลัยพะเยา
dc.subjectผักหวานป่า
dc.subjectเห็ดเผาะ
dc.subjectเห็ดตับเต่า
dc.subjectไมคอร์ไรซา
dc.subjectอัตราการงอก
dc.subjectการ เจริญเติบโต
dc.subjectจังหวัดพะเยา
dc.subjectMelientha Suavis Pierre
dc.subjectAstraeus Hygrometricus
dc.subjectBolete
dc.subjectMycorrhiza
dc.subjectGermination and Growth
dc.subjectPhayao Province
dc.titleการศึกษาผลของไมคอร์ไรซาต่อการเจริญเติบโตของผักหวานป่า (Melientha Suavis Pierre)
dc.title.alternativeStudy of the Physical Factor and Mycorrhiza Effective on Pak Wan Pa (Melientha Suavis Pierre) Growth
dc.typeOther
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
ติดต่อ งานส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศดิจิทัล.pdf
Size:
46.82 KB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed to upon submission
Description: