ความหลากชนิดของหิ่งห้อยในพื้นที่เกษตรบ้านบัว ตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

dc.contributor.authorภาณุพงศ์ ชัยวงศ์แสน
dc.date.accessioned2024-02-08T09:23:13Z
dc.date.available2024-02-08T09:23:13Z
dc.date.issued2021
dc.descriptionFireflies are bioluminescent Coleoptera insects and used as environmental bioindicators. The research on a diversity of fireflies in the agricultural areas of Ban Bua, Ban Tun subdistrict Mueang district, Phayao province was conducted in organic agricultural areas in Ban Bua village from October 2018 to October 2019. The objectives of this study were to investigate the diversity of fireflies and to evaluate the physical and biological factors affecting the diversity of fireflies in Ban Bua agricultural areas. A total of 100 adult fireflies were collected in the fields using the cruise line of line transect sampling technique from 5 different environmental habitats. The results revealed that all fireflies were classified in the subfamily Luciolinae and consisted of 5 genera 76 individuals. These identified fireflies were Abscondita (1 individual), Aquatica (2 individuals), Asymmetricata (7 individuals), Luciola (12 individuals), Medeopteryx (18 individuals), Pygoluciola (5 individuals), Sclerotia (24 individuals), and Triangulara (7 individuals). The three most collected species in all habitats were Sclerotia seriata (21 individuals: 27.63%), Medeopteryx sp. (18 individuals: 23.62%), and Luciola curtithorax (12 individuals: 15.79%). Three most habitats where species were collected including canal bank near reservoir (41 individuals: 53.95%) rice field near forest hill (16 individual: 21.05%) and rice field near irrigation dam (10 individual: 13.16%). Evaluation results from firefly diversity index. Physical factors and biological factors It was found that the forest area of the canal near the reservoir was suitable for diversity. And the abundance of fireflies The species diversity index, the richness index, the evenness index, and the species abundance were 1.525, 1.500, 0.450, and 91.667, respectively. From looking at the relationship between the water quality factor and the type and the number of adult fireflies Using Pearson's correlation coefficient analysis, pH was found to be highly positively correlated with adult fireflies Luciola curtithorax and Medeopteryx sp. (r = .922 **, p <0.01) and (r = .922 **, p <0.01) at a 99% confidence level, respectively. From the study, we can conclude that The variety and abundance of fireflies were found in natural conditions with poor environmental quality. Three types of fireflies, Sclerotia seriata, Medeopteryx sp. and Luciola curtithorax, could be used as environmental quality indicators in Ban Bua agricultural areas. Phayao Province.
dc.description.abstractหิ่งห้อยเป็นแมลงปีกแข็งที่สามารถเปล่งแสงได้ในความมืด และใช้เป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของสิ่งแวดล้อม การศึกษาความหลากชนิดของหิ่งห้อยในพื้นที่เกษตรกรบ้านบัว ตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ในพื้นที่นาข้าวอินทรีย์ดำเนินการ ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึง เดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความหลากชนิดของหิ่งห้อย ศึกษาปัจจัยทางกายภาพ และชีวภาพที่มีผลต่อความหลากชนิดในพื้นที่เกษตรบ้านบัว ดำเนินการเก็บตัวอย่างหิ่งห้อยตัวเต็มวัย 100 ตัว สุ่มเก็บตัวอย่างตามแนว line transect ระยะทาง 100 เมตร ในพื้นที่ 5 สถานีที่มีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน จากการศึกษาหิ่งห้อย 76 ตัวใน 100 ตัวที่สามารถจำแนกได้ พบว่า หิ่งห้อยทั้งหมดอยู่ในวงศ์ย่อย Luciolinae ประกอบด้วย 8 สกุล ได้แก่ Abscondita (1 ตัว), Aquatica (2 ตัว), Asymmetricata (7 ตัว), Luciola (12 ตัว), Medeopteryx (18 ตัว), Pygoluciota (5 ตัว), Sclerotia (24 ตัว) และ Triangulara (7 ตัว) หิ่งห้อย 3 ชนิดแรกที่พบมากที่สุด คือ Sclerotia seriata (21 ตัว : 27.63%), Medeopteryx sp. (18 ตัว : 23.62%) และ Luciola curtithorax (12 ตัว : 15.79%) 3 สถานีแรกที่พบมากที่สุด ได้แก่ สถานีชายคลองใกล้อ่างเก็บน้ำ (41 ตัว : 53.95%), สถานนีทุ่งนาใกล้เนินเขา (16 ตัว : 21.05%) และสถานีทุ่งนาติดฝายชลประทาน (10 ตัว : 13.16%) ผลการประเมินจากค่าดัชนีความหลากชนิดของหิ่งห้อย ปัจจัยทางกายภาพ และปัจจัยทางชีวภาพ พบว่า บริเวณป่าชายคลองใกล้อ่างเก็บน้ำเหมาะสมต่อความหลากชนิด และความชุกชุมของหิ่งห้อย โดยมีค่าดัชนีความหลากชนิด (species diversity index) ดัชนีความหลากหลายของชนิด (Richness index) ค่าดัชนีความสม่ำเสมอ (Evenness index) และค่าความชุกชุมของชนิด (species abundance) เท่ากับ 1.525, 1.500, 0.450, และ 91.667 ตามลำดับ จากการหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคุณภาพน้ำกับชนิด และปริมาณของหิ่งห้อยตัวเต็มวัย โดยใช้การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน พบว่า ค่า pH มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมากกับหิ่งห้อยตัวเต็มวัยชนิด Luciola curtithorax และ Medeopteryx sp. (r = 0.922** ,p < 0.01) และ (r = 0.922** ,p < 0.01) ที่ระดับความเชื่อมั่น 99 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ จากการศึกษาสรุปได้ว่า ความหลากชนิดและความชุกชุมของหิ่งห้อยพบมาก ในบริเวณสภาพธรรมชาติที่มีคุณภาพสิ่งแวดล้อมค่อนข้างดี หิ่งห้อย 3 ชนิดที่สำคัญ ได้แก่ Sclerotia seriata, Medeopteryx sp. และ Luciola curtithorax สามารถใช้เป็นดัชนีวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เกษตรบ้านบัว จังหวัดพะเยาได้
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยพะเยา
dc.identifier.urihttps://updc.up.ac.th/handle/123456789/294
dc.language.isoother
dc.publisherมหาวิทยาลัยพะเยา
dc.subjectความหลากชนิด
dc.subjectพื้นที่เกษตร
dc.subjectหิ่งห้อย
dc.subjectจังหวัดพะเยา
dc.subjectDiversity
dc.subjectAgricultural area
dc.subjectFireflies
dc.subjectPhayao province
dc.titleความหลากชนิดของหิ่งห้อยในพื้นที่เกษตรบ้านบัว ตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
dc.title.alternativeDiversity of Fireflies in The Agricultural Areas of Bann-Bua, Bann-Tun Sub- District, Mueang District, Phayao Province
dc.typeThesis
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
Phanuphong Chaiwongsaen.pdf
Size:
5.91 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed to upon submission
Description: