ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1

dc.contributor.authorเกรียงศักดิ์ โชคดี
dc.date.accessioned2024-05-08T08:18:24Z
dc.date.available2024-05-08T08:18:24Z
dc.date.issued2022
dc.descriptionThe effect of social studies learning activities according to the Trisikkha principles on learning achievement and critical thinking ability of Mathayomsuksa 1 students The objectives of this research were: 1) To compare the learning achievement among the students in the group who received school management. teaching social studies. According to the Trisikkha principles with the students who received the normal social studies teaching. 2) To compare the ability to think critically between the students in the group receiving social studies teaching. According to the Trisikkha principles 3) to study the opinions after school of students who received social studies teaching according to the Trisikkha principle. The sample group used in this research were students at Muang Pan Wittaya School. Muang Pan District, Lampang Province, the samples were drawn into the experimental group, 1 room, and the control group, 1 room, which were obtained by cluster sampling. The results of the drawing show that the experimental group was Mathayomsuksa 1/1 students. A total of 30 people were taught social studies in accordance with the Trisikkha principles of organizing learning activities. As for the control group, there were 30 students in Mathayomsuksa 1/2, totaling 60 students who received normal social studies teaching. The tools used in this research consisted of: 1) Tools used for data collection are: 1.1) Educational achievement test 1.2) Critical Thinking Ability Measure 1.3) Opinion questionnaire 2) The tools used in the experiment are: 2.1) A learning management plan by using social studies teaching and learning according to the Trisikkha principles. 2.2) Learning management plan by using normal social studies teaching and learning The results showed that 1) The group of students who received social studies teaching in accordance with the Trisikkha principles had The learning achievement was significantly higher than that of the group that received the normal social studies teaching at the 0.05 level. 2) The group of students who received social studies teaching in accordance with the Trisikkha principles had The ability to think critically was higher than those who received social studies teaching. Normal with statistically significant at the 0.05 level. 3) The group of students who received the Trisikkha social studies teaching had their opinions on the Trisikkha social studies teaching by organizing the Web-Based Instruction: WBI in the very level.
dc.description.abstractผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษา ตามหลักไตรสิกขากับนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาแบบปกติ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณระหว่างนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษา ตามหลักไตรสิกขา กับนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาแบบปกติ และ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนเมืองปานวิทยา อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง จับสลากกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลอง จำนวน 1 ห้อง และกลุ่มควบคุม จำนวน 1 ห้อง ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling) ซึ่งผลการจับสลากปรากฏว่ากลุ่มทดลอง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 จำนวน 30 คน โดยได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ส่วนกลุ่มควบคุม คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 จำนวน 30 คน โดยได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาแบบปกติ รวมจำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1.1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 1.2) แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 1.3) แบบสอบถามความคิดเห็น 2) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ 2.1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขา 2.2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาแบบปกติ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขา มีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษา แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขามีความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขาโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Web-Based Instruction: WBI อยู่ในระดับมาก
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยพะเยา
dc.identifier.urihttps://updc.up.ac.th/handle/123456789/493
dc.language.isoother
dc.publisherมหาวิทยาลัยพะเยา
dc.subjectการเรียนรู้สังคมศึกษา
dc.subjectหลักไตรสิกขา
dc.subjectการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
dc.subjectSocial studies learning
dc.subjectTrisikkha principles
dc.subjectAchievement and critical thinking ablility
dc.titleผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1
dc.title.alternativeThe Effect of Social Studies Learning Activities According to The Trisikkha Principles on Learning Achievement and Critical Thinking Ability of Mathayom Suksa Students
dc.typeThesis
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
Kriangsak Chokdee.pdf
Size:
2.38 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed to upon submission
Description: