นโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานเทศบาลตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

dc.contributor.authorปวีณา โตไทย
dc.date.accessioned2024-11-14T04:17:33Z
dc.date.available2024-11-14T04:17:33Z
dc.date.issued2020
dc.descriptionThe objective of this study were 1) to study the policies related to the development of work life quality of Mae Ka Municipality Officers 2) to study the level of opinions of the employees towards the implementation of the policy regarding the development of work life quality of Mae-Ka Municipality Officers, Muang District, Phayao Province applying quantitative research by collecting questionnaires from the population used in the study, including Mae-Ka Municipality Officers. A number of 131 people were calculated using the formula of Taro Yamane. A number of 99 people were analyzed using descriptive statistics consisting of frequency, percentage, mean and value. Standard deviation test research hypotheses using t-test and f-test or One-way ANOVA. The results of the analysis found out that Mae-Ka municipality has launched the policies related to the development of work life quality in eight different aspects in accordance with R.E.Walton’s (1973) concept of specific criteria for quality of working life. They were the following 8 areas: 1) Adequate and fair compensation 2) Safe and healthy working conditions 3) Development of human capacities 4) Growth and security 5) Social values or team working 6) Justice in the organization 7) Work Life Balance 8) Social responsibility. For the opinions of the respondents towards the policies related to the development of quality of working life in general was at a high level (mean = 3.51, SD = 0.48). Considering in each aspect, there were 4 areas which were at high levels, namely; health and safety at work, knowledge development ability of staff, justice in the organization, and social responsibility. There were also other four aspects which were at moderate level of respondents’ point of view that could post an impact on the overall policy implementation. They were: sufficient and fair remuneration, security and progress in work, social values or team working, and balance proportion between life and work. The results of the hypothesis testing came from Mae-Ka Municipality Officer of different gender, marital status, educational level, working period in the organization, different monthly income posted a minor impact on the opinion on the policies relating to the development of the quality of working life of the employees as a whole, with statistical significance at the level of 0.05. Only that of vary in age had different opinions with a statistically significant at 0.05.
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษานโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานเทศบาลตำบลแม่กา 2) ศึกษาระดับความคิดเห็นของพนักงานต่อการดำเนินนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานเทศบาลตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ด้วยการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ พนักงานเทศบาลตำบลแม่กา จำนวนทั้งสิ้น 131 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamane ได้จำนวน 99 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานการวิจัย โดยใช้สถิติ t-test และ f-test หรือ One-way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า เทศบาลแม่กามีนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน ตามแนวคิดของ Walton, R.E. (1973) ได้แก่ 1) ด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม 2) ด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน 3) ด้านการพัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงาน 4) ด้านความมั่นคงและความก้าวหน้าในการทำงาน 5) ด้านคุณค่าทางสังคมและการทำงานร่วมกัน 6) ด้านความยุติธรรมในหน่วยงาน 7) ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน 8) ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม สำหรับระดับความคิดเห็นต่อการดำเนินนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย= 3.51) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน จะมีระดับความคิดเห็นต่อนโยบายโดยรวมอยู่ในระดับมาก 4 ด้าน คือ ด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน ด้านการพัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงาน ด้านความยุติธรรมในหน่วยงาน และด้านความรับผิดชอบต่อสังคม และมีระดับความคิดเห็นต่อการดำเนินนโยบายโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางที่ควรต้องปรับปรุง 4 ด้าน คือ ด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและเป็นธรรม ด้านความมั่นคงและก้าวหน้าในงาน ด้านคุณค่าทางสังคมหรือการทำงานร่วมกัน และด้านความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัยพบว่าพนักงานเทศบาลตำบลแม่กา ที่มีเพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ระยะเวลาปฏิบัติงาน และมีรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานโดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นที่ มีอายุแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานเทศบาลตำบล โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยพะเยา
dc.identifier.citationปวีณา โตไทย. (2563). นโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานเทศบาลตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา]. ฐานข้อมูลคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยพะเยา (UP Digital Collections: UPDC).
dc.identifier.urihttps://updc.up.ac.th/handle/123456789/974
dc.language.isoother
dc.publisherมหาวิทยาลัยพะเยา
dc.subjectนโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิต
dc.subjectคุณภาพชีวิตการทำงาน
dc.subjectพนักงานเทศบาล
dc.subjectThe policies for the development of quality of life
dc.subjectQuality of Work Life
dc.subjectMunicipality Officers
dc.titleนโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานเทศบาลตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
dc.title.alternativeThe Policy for Development of Work Life Quality of Mae-Ka Municipality Officers, Meung District, Phayao Province
dc.typeThesis
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
Paweena Tothai.pdf
Size:
2.33 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed to upon submission
Description: