การใช้กิจกรรม P4C ร่วมกับการใช้สื่อหนังสือภาพเรื่อง โลกสีเทาของหมู่บ้านภูตหน้ากาก เพื่อพัฒนาความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นของเด็กประถมศึกษาชั้นปีที่ 5
No Thumbnail Available
Date
2024
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยการพัฒนาหนังสือภาพ เรื่อง โลกสีเทาของหมู่บ้านภูตหน้ากาก โดยมีคอนเซ็ปต์เกี่ยวกับการเหยียดรูปลักษณ์ เพื่อสร้างความเห็นอกเห็นใจในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ P4C (Philosophy for children) ร่วมกับการใช้สื่อหนังสือภาพในการจัดกิจกรรม วัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสื่อหนังสือภาพเรื่อง โลกสีเทาของหมู่บ้านภูตหน้ากาก ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเหยียดรูปลักษณ์เพื่อสร้างความเห็นอกเห็นใจในวัยรุ่นตอนต้น จำนวน 1 เรื่อง 2) เพื่อเปรียบเทียบความเห็นอกเห็นใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการใช้กิจกรรม P4C ร่วมกับสื่อหนังสือภาพ เรื่อง โลกสีเทาของภูตหน้ากากใช้วัดผลในรูปแบบ One Group Pretest-Posttest Design จากการใช้แผนการจัดกิจกรรมแบบ P4C ร่วมกับสื่อหนังสือภาพ เรื่อง โลกสีเทาของหมู่บ้านภูตหน้ากาก และแบบทดสอบความเห็นอกเห็นใจในวัยรุ่น เพื่อวัดผลก่อน-หลังในการจัดกิจกรรม ผลการทดลองจากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านจำป่าหวาย จังหวัดพะเยา พบว่า 1) ผู้เชี่ยวชาญประเมินสื่อหนังสือภาพว่ามีความสอดคล้องที่ 0.96 หมายถึง สามารถนำไปใช้งานได้ 2) ผลคะแนนความเห็นอกเห็นใจของนักเรียนหลังเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าก่อนทำกิจกรรม ดังนี้ คะแนนเฉลี่ยของแบบทดสอบก่อนทำกิจกรรมอยู่ที่ 27.53 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 68.83 ของคะแนนเต็ม และมีคะแนนเฉลี่ยของแบบทดสอบหลังทำกิจกรรมของนักเรียนที่ 30.06 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 75.15
Description
The purpose of this research is the development of a picture book titled "Unraveling" based on the concept of body shaming to create empathy in Grade 5 students by using P4C (Philosophy for Children) combined with the use of a picture book in learning activities. The purposes of this study were: 1) to develop a picture book with the concept of body shaming titled “Unraveling”. 2) To compare the students’ scores on the empathy quotient test before and after joining the P4C activities with a picture book. This research experiment used a one-group pretest-posttest design using P4C activities with the picture book “Unraveling” and a test of empathy quotients for adolescents. The result of the study found that 1) The picture book was evaluated for an IOC score of 0.96 by three experts, which means it is usable. 2) The achievement between the pre-test and post-test of students in grade 5 at Baan Jampawai School was higher than before using learning activities. The study found that the average score of the pre-activity test was 27.53 points, equivalent to 68.83 percent of the full score, and the average score of the student's post-activity test was 30.06 points, equivalent to 75.15 percent.
Keywords
วัยรุ่นตอนต้น, หนังสือภาพ, P4C, ความเห็นอกเห็นใจ, Tween (pre-teen), Picture Book, Empathy
Citation
ลลิตา เลี่ยมประวัติ. (2567). การใช้กิจกรรม P4C ร่วมกับการใช้สื่อหนังสือภาพเรื่อง โลกสีเทาของหมู่บ้านภูตหน้ากาก เพื่อพัฒนาความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นของเด็กประถมศึกษาชั้นปีที่ 5. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา]. ฐานข้อมูลคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยพะเยา (UP Digital Collections: UPDC).