ผลของแบคทีเรียตรึงไนโตรเจน แบคทีเรียละลายฟอสเฟตและละลายโพแทสเซียมต่อการเจริญเติบโตและการสร้างผลผลิตของข้าวสายพันธุ์ BKOS
Loading...
Date
2020
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
จุลินทรีย์หลายชนิดสามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช โดยการเพิ่มธาตุอาหารในดิน ได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) ซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช การศึกษาอิสระนี้จึงศึกษาผลของการประยุกต์ใช้แบคทีเรียตรึงไนโตรเจน (ไอโซเลท N3) แบคทีเรียละลายฟอสเฟต (Bacillus cereus MT253) และแบคทีเรียละลายโพแทสเซียม (Burkholderia cepacia) ต่อการเจริญเติบโตและการสร้างผลผลิตของข้าวสายพันธุ์ BKOS โดยพบว่า แบคทีเรียทั้ง 3 ชนิด ไม่ส่งผลกระทบต่ออัตราการงอกของข้าว และเมื่อปลูกข้าวในกระถางที่มีดินผสมทราย อัตราส่วน 3:2 โดยมีเงื่อนไขทั้งหมด 6 เงื่อนไข พบว่า เงื่อนไขการเติมปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ส่งเสริมการเจริญเติบโตและการสร้างผลผลิตดีที่สุด สำหรับเงื่อนไขที่มีการเติมแบคทีเรีย พบว่า การเติมแบคทีเรียรวม 3 ชนิดส่งเสริมการเจริญเติบโต และการสร้างผลผลิตได้ดีกว่าการเติมแบคทีเรียชนิดเดี่ยว และไม่เติมแบคทีเรีย (ชุดควบคุม) โดยให้ค่าเฉลี่ยจำนวนกอเท่ากับ 2.4 กอ/ต้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 26 ของชุดควบคุม (1.94 กอ/ต้น) จำนวนรวง 1.6 รวง/ต้น เพิ่มขึ้น ร้อยละ 23 ของชุดควบคุม (1.3 รวง/ต้น) และเมื่อนำแบคทีเรียทั้ง 3 ชนิดมาทำเป็นผงแป้งโดยผสมกับแป้งมันสำปะหลังอัตราส่วน 1:1.6 พบว่า แบคทีเรียทั้ง 3 ชนิดมีชีวิตรอดได้นานกว่า 90 วัน นอกจากนี้หากใช้แบคทีเรียเป็นปุ๋ยชีวภาพตลอดฤดูการเพาะปลูกจะมีต้นทุนการผลิต 800 บาท/ไร่ ในขณะที่การใช้ปุ๋ยเคมีมีต้นทุนการผลิตสูงถึง 3,600 บาท/ไร่ ดังนั้น การประยุกต์ใช้แบคทีเรียตรึงไนโตรเจน (N3) แบคทีเรียละลายฟอสฟอรัส (B. cereus MT253) และ แบคทีเรียละลายโพแทสเซียม (Bu. cepacia) จึงเหมาะสมในการนำไปประยุกต์ใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพเพื่อลดต้นทุนการผลิตและส่งเสริมให้คุณภาพดินดีขึ้น
Description
Many microorganisms can promote plant growth by increasing plant nutrients in the soil such as nitrogen (N), phosphorus (P) and potassium (K) which are necessary for plant growth. This independent study evaluated effect of nitrogen-fixing (N3), phosphate-solubilizing (Bacillus cereus MT253) and potassium-solubilizing (Burkholderia cepacia) bacteria on growth and yield of rice (Oryza sativa cv. BKOS). The result show that these 3 bacterial species were no effect on rice germination rate. Rice was grown in pots containing a mixture of soil and sand at the ratio of 3:2 and divided into 6 conditions. It was found that adding fertilizer (15-15-15) showed highest effect on growth and yield of rice. However, co-inoculated with 3 bacterial species showed high effect on highest promoting effect on when compared with single species inoculation or without inoculation (control). The tillers/plant value was increasing 26% (2.4 tillers/plant) and the panicles/plant value was increasing 23% (1.6 panicles/plant) when compared with control (1.94 tillers/plant and 1.3 panicles/pant). These 3 bacterial species were further mixed with cassava flour at ratio 1:1.6 to make bacterial flour. It revealed that these bacterial could survived more than 90 days. In addition, the production cost throughout rice growing season express 800 baht/rai when using bacterial flour as bio-fertilizer while this cost increasing to 3,600 baht/rai when using chemical-fertilizer. Therefore, N3, Bacillus cereus MT2 5 3 and Burkholderia cepacia were effective for producing bio-fertilizer that could reduce production cost and promote quality of soil.
Keywords
แบคทีเรียตรึงไนโตรเจน, แบคทีเรียละลายฟอสเฟต, แบคทีเรียละลายโพแทสเซียม, ข้าว, nitrogen-fixing bacteria, phosphate-solubilizing bacteria, potassium-solubilizing bacteria, rice
Citation
ปิยะธิดา สุภาวงค์ และยุทธนา จำปารี. (2563). ผลของแบคทีเรียตรึงไนโตรเจน แบคทีเรียละลายฟอสเฟต และละลายโพแทสเซียมต่อการเจริญเติบโตและการสร้างผลผลิตของข้าวสายพันธุ์ BKOS. [ปริญญานิพนธ์ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา.