ผลของโปรแกรมการส่งเสริมผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กอายุ 0-3 ปี ที่มารับบริการคลินิกสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแม่บง ตำบลโชคชัย อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย
Loading...
Date
2018
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กที่มารับบริการคลินิกสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแม่บง ตำบลโชคชัย อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองของเด็ก จำนวน 86 คน และเด็กที่มารับบริการคลินิกสุขภาพเด็กดี จำนวน 86 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปาก และกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกแผ่นคราบจุลินทรีย์รอบตัวฟัน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่าง มกราคม–เมษายน 2561 สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Independent sample T-test และ Paired sample T-test ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองที่เป็นผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคในช่องปากเด็ก การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรคในช่องปากเด็ก สูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.001) และกลุ่มทดลองที่เป็นเด็กที่มารับบริการคลินิกสุขภาพเด็กดี มีปริมาณคราบจุลินทรีย์บนตัวฟันของเด็กลดลงก่อนการทดลอง และลดลงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.001) โปรแกรมนี้สามารถลดการเกิดคราบจุลินทรีย์ และป้องกันการเกิดโรคฟันผุ อีกทั้งยังส่งเสริมให้ผู้ปกครองได้เรียนรู้ถึงวิธีการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กอีกด้วย
Description
This study was a quasi-experimental research aimed to study the effects of oral health promotion programs among 0-3 years’ parents at well baby clinic in Mae bong Health Promoting Hospital, Chokchai Sub-district, Doiluang District, Chiang Rai Province. The samples selected were parents of children 86 people and 86 children who got service form well baby clinic. There were 2 groups of samples; control group and experiment group that was got oral health promotion programs, each group consisted of 43 people equally. The instrument used were interviews and dental plaque plates recorder. Data were collected during January-April 2018. The statistics used were percentage, mean, standard deviation. Statistics Independent sample t-test and Paired sample t-test. The study indicated that the experimental group consisting the parent of a child had knowledge, attitude and practice regarding oral hygiene in perception of opportunity for oral disease in children and perception of oral violence in children more than before trial and more than the comparison group. There was a significant difference (P-value < 0.001). And the children's health service group which had declined before trial and lower than the comparison group. There was a significant difference (P-value <0.001). This program could reduce plaque and prevent dental caries. It also encouraged parents to learn how to take care of children's oral health.
Keywords
โปรแกรมการส่งเสริมผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปาก, คลินิกสุขภาพเด็กดี, Oral health promotion programs among children 0-3 years’s parents, Well baby clinic