ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาต่อพฤติกรรมและการรับรู้เกษตรกรปลูกข้าว ตำบลห้วยยางขาม อำเภอจุน จังหวัดพะเยา
Loading...
Date
2018
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาต่อพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และการรับรู้เกษตรกรปลูกข้าว ตำบลห้วยยางขาม อำเภอจุน จังหวัดพะเยา วิธีการศึกษาวิจัยเป็นแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) เปรียบเทียบก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมสุขศึกษา กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ เกษตรกรปลูกข้าวตำบลห้วยยางขาม จำนวน 879 คน โดยเจาะจง เลือก 2 หมู่บ้านตามเกณฑ์เพื่อเป็นตัวแทนในการศึกษา โดยการจับฉลากเลือกเป็นกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบ หมู่บ้านละ 22 คน รวมเป็น 44 คน เพื่อเป็นตัวแทน ใช้ระยะเวลา 1 เดือนครึ่ง ในการเข้าร่วมโปรแกรมสุขศึกษา ใช้แบบสอบถามวัดความรู้ด้านพฤติกรรมเกษตรกรใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และวัดการรับรู้ 3 ด้าน คือ รับรู้ประโยชน์ รับรู้อุปสรรค และรับรู้ความสามารถของตนเอง ในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทั้งก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรม จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้สถิติ Paired Sample T-test และ Independent T-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลจากการวิจัยพบว่า คะแนนประเมินความรู้ด้านพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การทำเกษตรอินทรีย์ และการรับรู้ทั้ง 3 ด้าน ที่เพิ่มขึ้น ระหว่างกลุ่มศึกษา และกลุ่มเปรียบเทียบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (p< 0.05) โดยคะแนนความรู้ด้านพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การทำเกษตรอินทรีย์ และการรับรู้ทั้ง 3 ด้านของกลุ่มศึกษาเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ และมากกว่าก่อนทดลอง รวมถึงกลุ่มเปรียบเทียบมีคะแนนความรู้ด้านพฤติกรรม การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การทำเกษตรอินทรีย์ และการรับรู้ทั้ง 3 ด้าน ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรม
Description
This quasi-experimental research aimed to investigate the effectiveness of health education program on behavior and insight of farmers in Huaiyangkham Sub-District, Chun District, Phayao Province. A total 879 farmers in Huaiyangkham Sub-District were the target population in this study. 44 participants from two villages, with 22 participants in each village were specifically chosen from Huaiyangkham Sub-District. Each village was drawn and assigned to either intervention group or control group. The intervention group was assigned to attend the program for 45 days. Both groups were evaluated knowledge regarding behavior in pesticide use and three insight points; benefit perception, obstacle perception and self-efficacy by questionnaires in both before and after participation in the program. All findings were analyzed percentage frequency, mean and standard deviation by paired sample t-test and independent t-test at a statistical significance level of 0.05. The intervention group showed significantly greater scores of knowledge regarding behavior in pesticide use, organic farming and three insight points than those of control group and pre-programmed participation (p<0.05). Moreover, knowledge regarding behavior in pesticide use, organic farming and three insight points of the control group were not significantly different in both and pre- and post-programmed participation at a statistical significance level of 0.05
Keywords
สารเคมีกำจัดศัตรูพืช, เกษตรกรปลูกข้าว, Insecticide, Farmer