แนวโน้มทางระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกในจังหวัดแพร่ ประเทศไทย พ.ศ. 2552-2561
dc.contributor.author | เจนจิรา ชอบธรรม | |
dc.date.accessioned | 2023-12-20T06:41:25Z | |
dc.date.available | 2023-12-20T06:41:25Z | |
dc.date.issued | 2021 | |
dc.description | The objective of the study was to explore the epidemiological trend of dengue fever during 2009-2018 in Phrae Province. The epidemiological trends were analyzed by the descriptive study and K-Means clustering. The results found that the total 5,014 patients were reported with average 501 patients per year. The greatest number of patients found in April to October. Clustering analysis, there are 3 groups of similar trends of dengue fever patients. Cluster 1 average patients 686 persons, Including years 2009, 2012, 2013 and 2018. The dengue cases started increase in April to the maximum in June (203 cases). Cluster 2 in 2015, there was high dengue cases. The peak started in April to the maximum in August with 376 patients. Following that the dengue cases decreased till October. That the trend was similar to trends in cluster 1 which begin in April to June, but longer period, steadily increasing in July to September. Cluster 3 Including years 2010, 2011, 2014, 2016 and 2017, it was found that there was lower dengue (185 patients per year) and the situation showed the late trend of monthly incidence found in May to October. The assessment of spatial variation found that the top two risk of districts including Song and Mueang Phrae, the four medium risk districts were Long, Sung Men, Den Chai and Nhong Muang Khai and the lowed risk district was Rong Kwang Wang Chin district. The result of dengue epidemiological, that is the initial data to monitor, prevent, plan to control the dengue in repetitive area. | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระบาดวิทยาโรคไข้เลือดออกในจังหวัดแพร่ ปี พ.ศ. 2552-2561 วิเคราะห์แนวโน้มระบาดวิทยาโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการจัดกลุ่มผู้ป่วยตามช่วงเวลาด้วยวิธีการ K-Means clustering ผลการศึกษาพบว่า มีผู้ป่วยสะสมทั้งหมด 5,014 คน เฉลี่ย 501 คนต่อปี เดือนเมษายนถึงตุลาคม เป็นช่วงเวลาที่พบผู้ป่วยสูงกว่าในช่วงเดือนอื่น จากการวิเคราะห์การจัดกลุ่มที่มีการเปลี่ยนแปลง จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่คล้ายกันได้ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 (ปี 2552, 2555, 2556 และ 2561) พบว่า มีผู้ป่วยสะสมเฉลี่ย 686 คนต่อปี โดยเริ่มพบผู้ป่วยในเดือนเมษายน และเพิ่มขึ้น จนถึงสูงสุด 203 คนในเดือนมิถุนายน จากนั้นผู้ป่วยจะลดลงไปจนถึงเดือนตุลาคม กลุ่มที่ 2 ปี 2558 พบผู้ป่วยสูงสุด 1,344 คน เริ่มพบผู้ป่วยในเดือนเมษายน และเพิ่มขึ้นไปถึง 376 คน ในเดือนสิงหาคม จากนั้นแนวโน้มผู้ป่วยลดลงไปจนถึงเดือนตุลาคม แสดงให้เห็นว่า ถึงแม้ในช่วงต้นตั้งแต่เดือนเมษายนถึงมิถุนายน จะมีการเปลี่ยนแปลงคล้ายกลุ่มที่ 1 แต่เหตุการณ์กลับรุนแรงขึ้นในเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน มีระยะเวลายาวนานกว่าปกติ กลุ่มที่ 3 (ปี 2553, 2554, 2557, 2559 และ 2560) พบว่า จำนวนผู้ป่วยน้อย เหตุการณ์เริ่มเกิดช้ากว่าปกติ โดยจะเริ่มมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม ผู้ป่วยเฉลี่ยสะสม 185 คนต่อปี สำหรับการประเมินการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ในภาพรวม พบอำเภอที่มีความเสี่ยงสูง 2 อำเภอ คือ สอง และเมืองแพร่ ความเสี่ยงปานกลาง 4 อำเภอ คือ ลอง สูงเม่น เด่นชัย และหนองม่วงไข่ ความเสี่ยงต่ำ 2 อำเภอ คือ วังชิ้น และร้องกวาง ผลการศึกษาสถานการณ์ระบาดวิทยาโรคไข้เลือดออกนี้ สามารถใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับบริหารจัดการเฝ้าระวัง เพื่อวางแผนป้องกัน ควบคุม ในพื้นที่ระบาดซ้ำซากของโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป | |
dc.description.sponsorship | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.identifier.uri | https://updc.up.ac.th/handle/123456789/193 | |
dc.language.iso | other | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.subject | ระบาดวิทยา | |
dc.subject | ไข้เลือดออก | |
dc.subject | จังหวัดแพร่ | |
dc.subject | การวิเคราะห์จัดกลุ่ม | |
dc.subject | Epidemiological | |
dc.subject | Dengue hemorrhagic fever | |
dc.subject | Phrae Province | |
dc.subject | Cluster analysis | |
dc.title | แนวโน้มทางระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกในจังหวัดแพร่ ประเทศไทย พ.ศ. 2552-2561 | |
dc.title.alternative | Epidemiological Trends of Dengue Hemorrhagic Fever in Phrae Thailand, 2009-2018 | |
dc.type | Thesis |