การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับปรุงระบบรายงานการประเมินตนเองระดับแผนกวิชาของสถานศึกษาอาชีวศึกษา (DVe-Sar) กรณีศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย
Loading...
Date
2023
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณภาพระบบ คุณภาพสารสนเทศ คุณภาพการบริการที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับและความพึงพอใจในการใช้งานระบบ DVe-Sar และ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ระบบ DVe-Sar ของผู้ใช้งาน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ใช้งานระบบ DVe-Sar ในปีการศึกษา 2565 ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอน และบุคลากรทางการศึกษา ในสังกัดวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย จำนวน 105 คน การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ระบบ DVe-Sar และมีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูล คือ การหาค่าเฉลี่ย (x̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) และค่าสถิติไค-สแควร์ (X2) ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า การวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามด้านต่าง ๆ คือ ด้านคุณภาพระบบ ด้านคุณภาพสารสนเทศ ด้านคุณภาพบริการ ด้านการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งานระบบ ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ของการใช้งานระบบ ด้านความปลอดภัยของระบบ และด้านความพึงพอใจของระบบ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ผลการวิเคราะห์ความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในภาพรวมมีความสอดคล้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์พิจารณาที่กำหนดไว้ และผลการทดสอบสมมติฐานโมเดลสมการโครงสร้างปัจจัยสมการโครงสร้างที่มีอิทธิพลต่อการปรับปรุงระบบ DVe-Sar กรณีศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลเชิงบวก ได้แก่ คุณภาพระบบเป็นปัจจัยที่ส่งผลเชิงบวกต่อการรับรู้ความง่ายในการใช้งานระบบ, คุณภาพสารสนเทศเป็นปัจจัยที่ส่งผลเชิงบวกต่อการรับรู้ประโยชน์ของการใช้งานระบบ, คุณภาพการบริการเป็นปัจจัยที่ส่งผลเชิงบวกต่อการรับรู้ความง่ายในการใช้งานระบบ การรับรู้ประโยชน์ของการใช้งานระบบและความปลอดภัยของระบบ, ความง่ายในการใช้งานระบบเป็นปัจจัยที่ส่งผลเชิงบวกต่อความพึงพอใจของระบบ, ประโยชน์ของการใช้งานระบบเป็นปัจจัยที่ส่งผลเชิงบวกต่อความพึงพอใจของระบบ และความปลอดภัยของระบบเป็นปัจจัยที่ส่งผลเชิงบวกต่อความพึงพอใจของระบบ ส่วนปัจจัยที่ส่งผลเชิงลบ ได้แก่ คุณภาพระบบเป็นปัจจัยที่ส่งผลเชิงลบต่อการรับรู้ประโยชน์ของการใช้งานระบบและความปลอดภัยของระบบ, คุณภาพสารสนเทศเป็นปัจจัยที่ส่งผลเชิงลบต่อการรับรู้ความง่ายในการใช้งานระบบและความปลอดภัยของระบบ
Description
The objective of this research is twofold: firstly, to study the quality of the DVe-Sar system, including information quality, service quality, and their influence on acceptance and satisfaction with the DVe- Sar system's usage; secondly, to develop a causal relationship model of factors influencing the use of the DVe- Sar system by users. This research employs a quantitative approach and utilizes a sample group consisting of DVe-Sar system users from Chiang Rai Vocational College in the academic year 2022, comprising administrators, teachers, and educational personnel, totaling 105 individuals. Data collection was conducted through questionnaires regarding factors influencing the use of the DVe-Sar system, and data analysis employed statistical methods including calculating the mean (x̅), standard deviation (SD.), and chi-square statistic (X2). The results of this research indicate that the analysis of respondents' opinions from various aspects, including system quality, information quality, service quality, perceived ease of use, perceived usefulness, system security, and system satisfaction, were at a high level. The analysis of the structural equation model's conformity with perceptual data overall aligns with the established criteria for evaluation. The testing of hypotheses regarding the structural equation model's factors influencing the improvement of the DVe-Sar system at Chiang Rai Vocational College revealed several positive factors: system quality positively influences perceived ease of use, information quality positively influences perceived usefulness, service quality positively influences perceived ease of use, perceived usefulness, and system security, ease of use positively influences system satisfaction, perceived usefulness positively influences system satisfaction, and system security positively influences system satisfaction. Negative factors include system quality negatively influencing perceived usefulness and system security.
Keywords
ประกันคุณภาพการศึกษา, ระบบสารสนเทศ, โมเดลสมการโครงสร้าง, Educational Quality Assurance, Information System, Structural Equation Modeling