การศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและการทดสอบความพึงพอใจของเส้นใยจากลำต้นเทียมกล้วยผสมกับกระดาษที่นำกลับมาใช้ใหม่เพื่อใช้เป็นวัสดุรองนอนสำหรับหนูขาว

Abstract
การศึกษาอิสระนี้ศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพของวัสดุรองนอนจากใยกล้วยแปรรูปทั้งหมด 9 อัตราส่วน เพื่อหาอัตราส่วนที่มีคุณสมบัติทางกายภาพเหมาะสมในการนำมาใช้เป็นวัสดุรองนอนสำหรับสัตว์ทดลอง ซึ่งคุณสมบัติทางกายภาพที่ทำการทดสอบในครั้งนี้ ได้แก่ ปริมาณความชื้นของวัตถุดิบ การสูญเสียความชื้นสะสม การดูดซึมน้ำ ปริมาตรของรูพรุนเปิด ความพรุนปรากฏ และความหนาแน่นกอง และทดสอบความพึงพอใจสำหรับหนูขาว (rat) สายพันธุ์ Wistar อายุ 8 สัปดาห์ เพศผู้ จำนวน 12 ตัว และเพศเมีย จำนวน 12 ตัว ในการทดสอบครั้งนี้ใช้ขี้กบ และซังข้าวโพดในการเปรียบเทียบกับวัสดุรองนอนจากใยกล้วยแปรรูป ในระหว่างทำการทดสอบความพึงพอใจของหนูขาวมีการเก็บข้อมูลด้านปริมาณอาหารที่หนูขาวกินในแต่ละวัน ปริมาณน้ำที่หนูขาวดื่ม ความชื้นของวัสดุรองนอน ค่าแอมโมเนียเหนือวัสดุรองนอน น้ำหนักตัว และความพึงพอใจการ เข้า-ออก ในวัสดุรองนอนแต่ละชนิดในการศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพของวัสดุรองนอนจากใยกล้วยแปรรูปทั้งหมด 9 อัตราส่วน พบว่า อัตราส่วนใยกล้วยต่อกระดาษนำกลับมาใช้ใหม่ ในอัตราส่วน 9:1 มีคุณสมบัติทางกายภาพเหมาะสมเป็นวัสดุรองนอนสำหรับสัตว์ทดลอง เมื่อนำมาทดสอบความพึงพอใจในหนูขาวเพศผู้และเพศเมีย พบว่า หนูขาวในกลุ่มที่ใช้ขี้กบและซังข้าวโพดเป็นวัสดุรองนอน มีแนวโน้มเลือกอยู่ในวัสดุรองนอนชนิดใยกล้วยแปรรูปมากกว่า และหนูขาวในกลุ่มที่ใช้ใยกล้วยแปรรูปเป็นวัสดุรองนอนมีแนวโน้มเลือกอาศัยอยู่ในวัสดุรองนอนชนิดใยกล้วยแปรรูปมากกว่าวัสดุรองนอนชนิดอื่น แสดงว่าใยกล้วยแปรรูปมีคุณสมบัติที่สามารถนำมาใช้เป็นวัสดุรองนอนมาตรฐานสำหรับสัตว์ทดลองได้
Description
The independence study aims to studies the physical properties of bedding from the banana fiber process in 9 ratios for used the best physical properties suitable ratio to laboratory animal bedding. Physical properties tested were humidity quantity of material, total humidity loss, water absorption, open porosity, apparent porosity, and bedding density. Examined bedding satisfaction by rats (Wistar rat) age of 8 weeks in 12 males and 12 females. In the experiment, wood shavings and corn cob was used in comparison with bedding from banana fiber, the data of food and water consumption in dairy, bedding humidity, ammonia over the bedding, body weight change, and in-out satisfaction to each type of bedding were recorded. The results shown that the ratio of banana fiber process per reused paper in ratio 9:1 was the best physical properties suitable ratio to laboratory animal bedding. Furfure more, the bedding satisfaction shown that rat in wood shavings and corn cob bedding tend to live in bedding from banana fiber process. Additionally, rat in bedding from banana fiber process tend to live in the banana fiber process more than other beddings. The results indicated that bedding from banana fiber process had suitable properties used to standard bedding for laboratory animal.
Keywords
ลำต้นเทียมกล้วย, เส้นใยกล้วย, กระดาษที่นำกลับมาใช้ใหม่, หนูขาว, วัสดุรองนอน, banana, pseudostem, banana fiber, reused paper, rat, bedding
Citation
กาญจนา สารีคำ, วาสนา วอนทองหลาง และรัตนา อุทรณ์. (2560). การศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและการทดสอบความพึงพอใจของเส้นใยจากลำต้นเทียมกล้วยผสมกับกระดาษที่นำกลับมาใช้ใหม่เพื่อใช้เป็นวัสดุรองนอนสำหรับหนูขาว. [ปริญญานิพนธ์ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา.