การใช้รา Mucor ellipsoideus, Rhizopus oryzae และ Trichoderma harzianum ในการย่อยสลายปุ๋ยหมักผักตบชวา เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตและควบคุมโรคจากรา Alternaria brassicicola และ Pythium aphanidermatum ในคะน้า

Loading...
Thumbnail Image
Date
2018
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของราย่อยสลาย Mucor ellipsoideus (UPPY06), Rhizopus oryzae (UPPY29) และ Trichoderma harzianum (UPPY19) ในการย่อยสลายผักตบชวา สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตและการควบคุมโรคจากรา Alternaria brassicicola และ Pythium aphanidermatum ของคะน้า ในการทดลองที่ 1 การศึกษาการย่อยสลายผักตบชวาด้วยราย่อยสลายในระดับโรงงาน พบว่า การหมักผักตบชวาด้วยรา R. oryzae และ T. harzianum นาน 60 วัน ได้ผักตบชวาหมักที่มีคุณสมบัติทางกายภาพ คุณสมบัติทางเคมี และปริมาณธาตุอาหารหลักดีที่สุด ตามหลักเกณฑ์มาตรฐานของปุ๋ยอินทรีย์กรมวิชาการเกษตร (ปี 2551) เมื่อแยกเชื้อกลับเพื่อตรวจสอบการอยู่รอดของราในผักตบชวาหมัก พบว่า ในทุก ๆ กรรมวิธี พบราย่อยสลายแต่ละชนิดที่ใส่ลงไปในผักตบชวาหมัก และมีการพบรา Rhizopus sp. ในทุก ๆ กรรมวิธี ส่วนการทดลองที่ 2 การทดสอบผลของปุ๋ยอินทรีย์ผักตบชวาที่หมักด้วยราย่อยสลายต่อการส่งเสริมการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของคะน้า ในระดับโรงเรือน พบว่า การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ผักตบชวาที่หมักด้วยราย่อยสลาย ในอัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ ทำให้คะน้ามีการเจริญเติบโต และคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวใกล้เคียงกับการใช้ปุ๋ยเคมื โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ผักตบชวาที่หมักด้วยราย่อยสลายมีผลผลิตคะน้าต่อต้นเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 41.76 กรัม รองลงมา คือ การใช้ปุ๋ยเคมี มีผลผลิตคะน้าต่อต้น เฉลี่ย 37.36 กรัม ซึ่งมากกว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของโรงงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่การทดลองที่ 3 การทดสอบผลของราย่อยสลายต่อการควบคุมการเจริญของราสาเหตุโรคในคะน้าในระดับห้องปฏิบัติการ พบว่า รา M. ellipsoideus, R. oryzae และ T. harzianum มีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งการเจริญของรา P. aphanidermatum สาเหตุโรคเน่าคอดิน เท่ากับ 61.06, 62.61 และ 80.61 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และเปอร์เซ็นต์การยับยั้งการเจริญของรา A. brassicicola สาเหตุโรคใบจุดของคะน้า เท่ากับ 53.39, 86.83 และ 82.39 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนการควบคุมโรคของคะน้าในระดับโรงเรือน พบว่า ปุ๋ยอินทรีย์ผักตบชวาที่หมักด้วยราย่อยสลาย สามารถควบคุมการเกิดโรคเน่าคอดิน และโรคใบจุดของคะน้าได้ดีที่สุดโดยมีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคเน่าคอดินน้อยที่สุด เท่ากับ 4 เปอร์เซ็นต์ และมีระดับความรุนแรงของโรคใบจุดเท่ากับ 1.74 ของระดับคะแนนการเกิดโรคบนพื้นที่ใบ ตามลำดับ ในขณะที่การใช้ปุ๋ยเคมี พบว่า ต้นกล้าคะน้ามีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคเน่าคอดินสูงถึง 86 เปอร์เซ็นต์ และมีระดับความรุนแรงของโรคใบจุดสูงถึง 3.20 ของระดับคะแนนการเกิดโรคบนพื้นที่ใบ ซึ่งมีการเกิดโรคมากกว่าชุดควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น การนำปุ๋ยอินทรีย์ผักตบชวาที่หมักด้วยราย่อยสลายมาใช้ในการปลูกคะน้า สามารถช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต และลดการเกิดโรคในคะน้าได้ดีที่สุด
Description
Studies were conducted to investigate effect of Mucor ellipsoideus (UPPY06), Rhizopus oryzae (UPPY29) and Trichoderma harzianum (UPPY19) in degrading water hyacinth contributed to the production of organic compost toward growth improvement and management of fungal disease caused by Alternaria brassicicola and Pythium aphanidermatum of kale. Experiment 1, studied of organic fertilizer derived from the decomposition of water hyacinth for 60 days in the closed room under modeled industrial processing condition. Results revealed that the best fermentation quality including physical properties chemical composition and the main nutrient content necessarily comply with the organic fertilizer standard of the Ministry of Agriculture was achieved in the silage with the contribution of R. oryzae and T. harzianum to overall decay of water hyacinth for 60 days. A method for the re-isolation demonstrated that all described fungal species were survived in compost. Experiment 2, effect of organic compost from water hyacinth commercial organic fertilizer and chemical fertilizer on the growth, yield and postharvest quality of kale growth under greenhouse conditions. Similar effects on growth parameters and postharvest quality were found where application of water hyacinth manure was applied at the rate of 500 kg/rai comparable to that of chemical fertilizer. Treatment obtained from water hyacinth had the maximum yield per plant of kale was 41.76 g followed by chemical fertilizer yielded per plant was 37.36 g. and yield were significantly higher than commercial manure treatment. Experiment 3, was designed to investigate the bio-efficacy of M. ellipsoideus, R. oryzae and T. harzianum in inhibiting P. aphanidermatum and A. brassicicola the caused agent of damping-off and leaf spot of kale under the laboratory conditions, M. ellipsoideus, R. oryzae and T. harzianum were inhibited growth of P. aphanidermatum 61.06, 62.61 and 80.61%, respectively and were inhibited growth of A. brassicicola 53.39, 86.83 and 82.39% respectively. Effect of the application of water hyacinth compost showed the lowest disease incidence (4%) recorded for damping-off and lowest disease severity was 1.74 for leaf spot compound with 86% and 3.20 in trial of chemical fertilizer. The results also showed significant difference between chemical fertilizer application compounds with control group.
Keywords
ราย่อยสลาย, ปุ๋ยหมักผักตบชวา, คะน้า, Fungal degradation, Water hyacinth compost, Kale
Citation
วรวุฒิ อ้ายดวง. (2561). การใช้รา Mucor ellipsoideus, Rhizopus oryzae และ Trichoderma harzianum ในการย่อยสลายปุ๋ยหมักผักตบชวา เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตและควบคุมโรคจากรา Alternaria brassicicola และ Pythium aphanidermatum ในคะน้า. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา]. ฐานข้อมูลคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยพะเยา (UP Digital Collections: UPDC).